โรคพาร์กินสัน โรคร้าย บ่อนทำลายคุณภาพชีวิต



หากพูดถึงโรคพาร์กินสัน เราคงนึกถึงโรคหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะมีอาการสั่นในขณะที่อยู่เฉยๆ แต่ไม่ทราบว่ามีความรุนแรงเพียงใด

โรคพาร์กินสัน เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท เนื่องจากขาดสารโดปามีนในสมอง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุทั้งเพศชาย และหญิง เกิดจากการเสื่อมและตายของเซลล์สมองในตำแหน่งที่สร้างสารโดปามีน จนไม่สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอ ซึ่งสารโดปามิน มีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย

อาการของโรค
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันจะมีอาการดังนี้
- สั่นในขณะที่อยู่เฉยๆ เกิดขึ้นที่มือหรือเท้าซีกใดซีกหนึ่ง หรือเป็นได้ทั้งสองซีก
- เคลื่อนไหวช้าลง เดินช้าลง แขนไม่แกว่ง
- พูดเสียงเบา
- แขนขาและลำตัวแข็งตึง ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก
- ปวดตามกล้ามเนื้อ
- ซึมเศร้า สีหน้าเฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์
- นอนไม่หลับ
- น้ำลายไหลบ่อย ไม่สามารถควบคุมได้
- ทรงตัวไม่ดี หลังค่อม แขนงอ หกล้มง่าย นั่งตัวเอียง

การรักษา
ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดได้ เนื่องจากไม่สามารถหยุดยั้งความเสียหายที่เกิดกับเซลล์สมอง การรักษาจึงเป็นเพียงการบำบัดเพื่อรักษาและควบคุมชะลออาการของโรคไม่ให้เลวลงอย่างรวดเร็วเท่านั้น

เมื่อมีการวินิจฉัยว่าผู้สูงอายุเป็นโรคพาร์กินสัน แพทย์จะวางแผนการรักษาและติดตามอาการ รวมถึงประเมินผลการรักษาเป็นระยะๆ แตกต่างกันไปในแต่ละราย

การให้ยาในผู้ป่วยหนึ่งราย จะให้ยามากกว่าหนึ่งขนาน และเป็นการระงับยับยั้งอาการสั่น การเคลื่อนไหวผิดปกติและปรับความสมดุลของร่างกาย

แม้ว่าโรคพาร์กินสันจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การออกกำลังกาย และทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงปฎิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดก็ช่วยชะลออาการของโรคได้อย่างดี


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อปวดหลังช่วงล่าง

ผู้สูงอายุ มักปวดหลังเป็นประจำ ทำให้จะลุกจะนั่งก็ลำบากจากอาการเจ็บปวดทรมาน ซึ

โภชนาการดี ชีวีมีสุข

ถึงวัยที่อายุก้าวเข้าสู่เลขหลายสิบ อะไรๆ ก็ดูจะเสื่อมโทรมไปตามวัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าชีวิตจะค

เสียสุขภาพจิต เสียคุณภาพชีวิต เพราะเป็นลำไส้อุดตัน

ลำไส้อุดตัน คือภาวะที่สิ่งต่างๆ ในลำไส้ ทั้งน้ำ อาหาร น้ำย่อย และของเหลวต่างๆ ไม

การปฏิบัติตน เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม

ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ โดยเฉพาะสตรีในวัยทอง ที่มักมีปัญหากระดู

3 โรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย ในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ มักมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคไต โรคปอด เป็นต้น ซึ่งโรคเหล

โรคข้อรูมาตอยด์ฝันร้ายในวัยสูงอายุ

โรคข้อรูมาตอยด์ แม้จะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็พบได้ในผู้ที่มีญาติสายตรงเ