โอ๊ย ปวดหัวจริงๆ สงสัยจะเป็นไมเกรนแน่ๆ แต่จะรู้ได้อย่างไรนะว่าใช่ไมเกรนหรือไม่ และถ้าเป็น จะมีวิธีดูแลตนเอง หรือวิธีการรักษาอย่างไร
โรคไมเกรน หลายคนเข้าใจว่าต้องปวดหัวข้างเดียวจึงจะเป็นไมเกรน แท้จริงแล้ว โรคไมเกรนสามารถปวดสลับกันทั้งสองซีกได้ ซึ่งการปวดหัวไมเกรนนี้ สร้างความทรมานให้กับผู้ที่เป็นอย่างมาก
การรักษาโรคไมเกรน
โรคไมเกรนไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทำให้การรักษาอาจจะไม่ตรงจุด ซึ่งการรักษาโรคไมเกรน มีดังนี้
1. รักษาอาการในขณะปวด
2. ป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการปวด
3. พบแพทย์
ซึ่งหากจะให้ได้ผลดีนั้น จำเป็นจะต้องรักษาควบคู่ไปด้วยกันทั้ง 3 ทาง
การดูแลตนเอง
ถึงแม้เราจะไม่อาจทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเป็นได้ แต่เราสามารถดูแลตนเองได้ ดังนี้
1. อย่าเครียด หลักการง่ายๆ แต่ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะจัดการกับภาวะอารมณ์และสถานการณ์ตรงหน้าได้หรือไม่หากคุณลดความตึงเครียดลงได้ คุณจะห่างไกลจากความเสี่ยงที่จะปวดหัวได้มากทีเดียวอาจหาทางออกโดยการตั้งสมาธิ ค่อยๆ คิดตัดสินใจ หรืออาจมีที่ปรึกษา มีคนรอบข้างช่วย และฝึกทำจิตใจให้ร่าเริง เป็นคนมองโลกในแง่ดี และไม่เป็นคนที่หงุดหงิดง่าย
2. ไม่นอนดึก และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งคุณควรนอนไม่เกิน 22.00 น. และนอนให้ครบ 6-8 ชั่วโมงในทุกวันถ้าทำได้
3. หลีกเลี่ยงการดื่นกาแฟ ชา หรือยาที่จะมีฤทธิ์กดประสาท
4. หากคุณเป็นคนสายตาสั้น ใส่แว่น และรู้สึกมึนหัว ปวดตาบ่อยๆ คุณควรไปตรวจสายตาใหม่ เพราะแว่นที่ใส่อาจจะไม่เท่ากับสายตาของคุณ
5. หลีกเลี่ยงการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หน้าจอมือถือ หรืออยู่กลางแสงแดดจ้า แสงไฟแรงๆ หรือหาแว่นดำมาใส่ก็ช่วยได้มาก
6. ไม่ใช้สายตามากจนเกินไป ควรพักสายตาบ้าง และทานอาหารที่บำรุงสายตา
7. ไม่ทำงานที่ใช้ความคิดหนักๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้สมองล้าได้ง่าย และปวดหัวขึ้นมาได้
มีเคล็ดลับดีๆ ในการดูแลตนเองอย่างนี้แล้ว โรคไมเกรนก็ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดแล้วนะคะ ถึงแม้เราจะรู้จักวิธีแก้ไข แต่ก็อย่าละเลยการป้องกันที่ต้นเหตุ กันไว้ก็ดีกว่าแก้ค่ะ
ถ้าจะพูดกันถึงโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ เราคงพอจะนึกออกว่ามีโรคใดบ้าง แต่หากจะพูดถึ
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อะไรๆ ก็ดูจะด้อยลงทุกอย่าง ทั้งสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้อย่างช
ผู้สูงอายุที่มีพุงพลุ้ยๆ ดูนุ่มนิ่มน่ากอดที่สุด อาจคิดว่าเป็นสิ่งที่ล
เป็นที่ทราบกันดีว่า แม้จะอยู่ในช่วงวัยสูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว ก็ควรออกกำลังกายอย
สุขภาพร่างกายของคนเราจะดีได้นั้น มีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่างหลักๆ คือ ระบบร่างกายที่ทำง
อาการท้องผูก เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุทุกคน เกิดจากการที่ระบบร่างกายทำงานแปรปรวนไป แ