กระดูกพรุน เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เนื่องจากมวลกระดูกลดน้อยลง และสามารถเกิดในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วได้มาก เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างรวดเร็ว
ภาวะกระดูกพรุน เกิดจากการที่ร่างกายมีแคลเซียมน้อยกว่าปกติ เพราะร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้น้อยกว่าปกตินั่นเอง
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะกระดูกพรุน มี 6 ข้อดังนี้
1. เน้นการรับประทานอาหารประเภทผัก และผลไม้เพื่อให้ได้วิตามินและเกลือแร่ที่เพียงพอในการป้องกันภาวะกระดูกพรุน
2. ออกกำลังกายให้เหมาะสม เพื่อเป็นการเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก และยังมีความสำคัญต่อความแข็งแร่งของกล้ามเนื้อ รวมถึงความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้ออีกด้วย
3. ลดปริมาณบุหรี่ กาแฟ และความเครียด หรือสิ่งที่มาให้เกิดภาวะวิตกกังวล เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารอะดรีนาลีนซึ่งจะไปมีผลทำให้เกิดการย่อยสลายกระดูกในร่างกายมากขึ้น อีกทั้งความเครียดยังมีผลทำห่างกายต้องการแมกนีเซียม และวิตามินซีเพิ่ม เพื่อนำไปใช้สร้างมวลกระดูก
4. พยายามหลีกเลี่ยงอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดหรือยาที่มีผลต่อระบบต่อมไร้ท่อในร่างกาย รวมถึงอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิต เช่น กาแฟ น้ำตาลทรายขาว เกลือ รวมถึงเนื้อสัตว์ต่างๆ ซึ่งมีผลทำให้เกิดภาวะความเป็นกรดในกระเพาะมากขึ้น ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง
5. อย่าพยายามลดความอ้วนมากเกินไป เนื่องจากพบว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนมักจะเก็บสะสมในไขมัน ดังนั้นแม้ว่าจะอยู่ในวัยทองแล้วก็ตาม คนอ้วนจึงยังคงมีฮอร์โมนมากกว่า ภาวะกระดูกพรุนจึงเกิดได้ช้ากว่า ดังนั้น ผู้ที่ลดความอ้วนมากเกินไป จึงเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
6. พยายามรับประทานอาหารที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งแคลซิโตนินซึ่งเป็นฮอร์โมนช่วยในการสร้างกระดูกให้แข็งแรงขึ้น เช่น แซลมอน
เพียงปฏิบัติตาม 6 ข้อในการป้องกันและแก้ไขภาวะกระดูกพรุนที่นำมาฝากในวันนี้ ก็สามารถวางใจได้ว่า กระดูกของคุณจะแข็งแรงต่อไปอีกยาวนาน และไม่เจ็บปวดตามข้อและกระดูกง่ายๆ อย่างแน่นอน
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นทุกวัน กระดูก ย่อมผุกร่อน และบางลงไปตามกาลเวลา ในวัยสูงอายุ จึงไม
โรคเกาต์ เป็นโรคอันดับต้นๆ ที่พบได้ในผู้สูงอายุ เกิดจากการใช้และขับถ่ายสารพวกพิวรี
เรื่องของสุขภาพจิต ใครคิดว่าไม่สำคัญ เพราะจิตใจนั้น เป็นสิ่งที่ออกมาจากภายใน แม้จะ
ในวัยสูงอายุ เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้สูงอายุควรดูแลตนเองให้มีสุขภาพทั้