ดวงตา เป็นสิ่งที่เสื่อมถอยไปตามกาลเวลา ผู้สูงอายุจึงมักมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา และโรคทางตาต่างๆ ที่เกิดความผิดปกติขึ้น ได้แก่
ต้อกระจก
โรคต้อกระจก มีปัจจัยเสี่ยงอันได้แก่ อายุ การได้รับแสงแดดจ้าบ่อยๆ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ยาหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์ ทำให้มีอาการต่างๆ คือ ตามัวลงอาจมองเห็นภาพเป็นสีเหลือง หรือบางคนอาจมองเห็นแสงกระจายในที่สว่างจ้า การรักษาต้องทำการผ่าตัดเอาเลนส์ที่ขุ่นออก และใส่เลนส์แก้วตาเทียม ซึ่งในปัจจุบันใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวนด์) สลายต้อกระจก ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ไม่จำเป็นต้องเย็บแผล ผู้ป่วยมักจะกลับมามองเห็นเป็นปกติถ้าไม่มีโรคอื่นๆ ที่ทำให้ตามัว
ต้อหิน
ปัจจัยเสี่ยงของโรคต้อหินหลักๆ แล้วคือ ความดันตาสูง กดทำลายเส้นประสาทตา ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น มีคนในครอบครัวเป็นต้อหิน อายุ 40 ปีขึ้นไป การใช้ยาสเตียรอยด์ ได้รับอุบัติเหตุหรือผ่าตัดตามาก่อน อาการในช่วงแรกมักไม่มีอาการ ต่อมาจะสูญเสียการมองเห็นจากด้านข้างเข้ามาตรงกลาง และตาบอดในที่สุดการรักษาต้อหินส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยยาลดความดันตา หรือการยิงเลเซอร์โดยผู้ป่วยจะต้องมาตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ ถ้ารักษาด้วยยาไม่ได้ผล แพทย์จะใช้วิธีผ่าตัดต่อไป
จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม
ปัจจุบันพบว่าปัจจัยทางพันธุกรรมมีส่วนร่วมในการเกิดโรค ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคคือ ภาวะสูงอายุ แสงอัลตราไวโอเลตหรือแสงอาทิตย์ การสูบบุหรี่ และความดันโลหิตสูง โดยเริ่มต้นอาจไม่มีอาการ ต่อมาจะมีอาการตามัว เห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นจุดดำอยู่กลางภาพ และสูญเสียการมองเห็นตรงกลางภาพโดยไม่มีอาการปวด
การรักษาและป้องกัน ผู้ป่วยต้องรับประทานยาต้านอนุมูลอิสระตามข้อบ่งชี้เพื่อชะลอการดำเนินโรคและลดโอกาสเกิดหลอดเลือดผิดปกติ หากหลอดเลือดผิดปกติแล้ว จะรักษาโดย ฉีดยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดหลอดเลือดเข้าในวุ้นตา การใช้แสงเลเซอร์พลังงานต่ำและพลังงานสูง หรือผ่าตัดวุ้นตาและจอตา การรักษาและติดตามผลต้องทำอย่างต่อเนื่อง
ดวงตาของคนเรามีเพียงคู่เดียวเท่านั้น ถ้าหากเกิดความเสียหายแล้ว ย่อมส่งผลต่อการดำเนินชีวิต และสุขภาพจิตเป็นอย่างมากแน่นอน ดังนั้น รู้สึกป้องกัน และรักษาดวงตาซึ่งเปรียบเสมือนแสงสว่างของเราเสียแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยป้องกันความสูญเสียได้นะคะ
เรามักพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่มีโรคประจำตัว มักเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งโรคมะเร็งเป
โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบได้ในผู้สูงอายุทุกคน เกิดจากการทำงานของฮอร์โ
อาการหลงๆ ลืมๆ นี้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการไม่เอาใจใส่ การรีบเร่ง ความกังวลในใจ การทานยาบางชนิด เป็นต้น
แค่ได้ฟังว่า เกิดภาวะเลือดออกในโพรงสมอง ก็รู้สึกว่าอันตรายแล้ว ซึ่ง
หากพูดว่า “สมองฝ่อ” เรามักสงสัยว่า เมื่ออายุของเราเพิ่มมากขึ้น จะสามารถเป็นโรคสม
ถ้าจะพูดกันถึงโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ เราคงพอจะนึกออกว่ามีโรคใดบ้าง แต่หากจะพูดถึ