สาวๆ ทั้งหลายคงไม่อยากก้าวเข้าสู่วัยทองใช่ไหมคะ วันไหนอารมณ์บูดบึ้งขึ้นมา เพื่อนก็ทักว่า “นี่เป็นวัยทองเปล่าเนี่ย” ยังทำให้เราไม่สบอารมณ์เข้าไปใหญ่ ก็ในช่วงที่ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงวัยทอง มันช่างทำให้คุณภาพชีวิตแย่จริงๆ
ผู้หญิงเราจะเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนในช่วงเฉลี่ยอายุ 49.5 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รังไข่สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง และหยุดไปในที่สุด ระบบต่างๆ ในร่างกายทั้งหมดจึงเปลี่ยนแปลง ทำให้หมดประจำเดือน ไม่มีชีวิตชีวา และมีโรคแทรกซ้อนมากมาย
ร่างกายในวัยทอง
การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ส่งผลดังต่อไปนี้
- หลังหมดประจำเดือนใหม่ๆ จะมีอาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย ใจสั่น เบื่อง่าย นอนไม่หลับ ซึมเศร้า น้อยใจง่าย ขาดสมาธิในการจดจำ และปวดเมื่อย
- หลังหมดประจำเดือนไประยะหนึ่ง ทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์จะเกิดการฝ่อ ส่งผลให้ช่องคลอดแห้ง เมื่อมีเพศสัมพันธ์จึงรู้สึกเจ็บ กลั้นปัสสาวะได้ไม่ดี เล็บอ่อนแอ และผมร่วง
- ผลในระยะยาว คือ กระดูกผุพรุน หัวใจขาดเลือด และเริ่มมีอาการความจำเสื่อม ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน
การดูแลตนเองเมื่อเข้าสู่วัยทอง
1. พบแพทย์
เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง คุณควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ เพราะบางอาการต้องการการรักษา ซึ่งแพทย์จะสามารถช่วยให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ซึ่งบางรายก็ต้องใช้ฮอร์โมนช่วยด้วย 1-5 ปีสำหรับบางคนอาจไม่มีความจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนในการรักษา ทั้งนี้ คุณจึงควรดูแลเอาใจใส่ตนเองตั้งแต่อายุยังน้อยๆ
2. ทานอาหารที่มีประโยชน์
ร่างกายคนเราในขณะปกติยังต้องการอาหารที่มีประโยชน์ ยิ่งถ้าในช่วงที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงเสื่อมถอย คุณยิ่งต้องเอาใจใส่ในการกินเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ งดอาหารมัน และทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง รวมถึงทานไฟเบอร์มากๆ ช่วยในการขับถ่ายด้วย เพราะในวัยทองระบบขับถ่ายจะทำงานได้ไม่ดี และอาจส่งผลให้ท้องผูก และเป็นโรคต่างๆ ตามมา
3. ออกกำลังกายเป็นประจำ
หนึ่งในอาการของวัยทองคือการที่กระดูกผุและพรุนได้ง่าย ดังนั้น การออกกำลังกายจึงช่วยป้องกันกระดูกพรุน และทำให้ปอดและหัวใจแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้ แต่ควรระมัดระวังในประเภทของการออกกำลังกาย ไม่ออกกำลังกายประเภทที่ต้องมีการกระทบกระแทกกัน ท่ายากๆ หรือหนักจนเกินไป
ถ้าเรารู้จักดูแลร่างกายของเราให้ดีเสียแต่วันนี้ และรู้จักเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับวัยหมดประจำเดือนแล้วล่ะก็ คุณก็จะก้าวเข้าสู่วัยทองได้อย่างสมกับเป็นวัยทองของคุณจริงๆ
หากพูดถึงความดันโลหิตสูง คงเป็นที่รู้จักของใครหลายๆ คน และเป็นภาวะที่ผู้ที่มีน้ำ
อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ เกิดขึ้นอาการทางสมอง ซึ่งญาติไม่ควรปล่อย
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เมื่อจะลุกจะนั่ง มักรู้สึกปวดเมื่อย หรือเจ็บปวดตามข้อต่างๆ ของร
โรคเกาต์ เป็นโรคอันดับต้นๆ ที่พบได้ในผู้สูงอายุ เกิดจากการใช้และขับถ่ายสารพวกพิวรี
ใครๆ ก็พูดว่า “อาการนอนไม่หลับ เป็นโรคของคนแก่” นั่นก็หมายความว่า เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ใครๆ ก็ส
ความต้องการพลังงานและสารอาหารของคนเรา จะแตกต่างไปตามเพศ วัย และขนาดของร่างกาย เช่น วัยรุ่น มีการใช้พลัง