อัลไซเมอร์ โรคอันตรายใกล้ตัวผู้สูงอายุ



เรามักพบว่าผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุมากๆ มักมีอาการหลงๆ ลืมๆ และหากเป็นหนัก ก็จะมีพฤติกรรมแปลกๆ จนเราเรียกกันว่า “อัลไซเมอร์” อาการหลงๆ ลืมๆ ที่เกิดขึ้น อาจไม่ใช่โรคอัลไซเมอร์เสมอไป แต่โรคอัลไซเมอร์ก็มีความน่ากลัว เพราะเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดที่ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน จึงไม่อาจป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการเสื่อมสลายของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ มักมีอายุสั้นและเสียชีวิตภายใน 10 ปี หลังจากเกิดโรค

ระยะของโรค

ระยะที่ 1 ในระยะแรก ผู้ป่วยจะเริ่มจากการมีปัญหาเรื่องความทรงจำในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ความทรงจำระยะสั้น ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ไม่มีปัญหากับความทรงจำในระยะยาวหรือในอดีต เนื่องจากสมองที่เสื่อมลง ทำให้การตอบสนองต่างๆ ช้าลงด้วย ระยะนี้ ผู้ป่วยจะเชื่องช้าลง เริ่มจำชื่อ จำเส้นทางไม่ค่อยได้ ส่งผลให้หงุดหงิดง่าย

ระยะที่ 2 เริ่มมีปัญหาในการตัดสินใจเอง พูดคิดอะไรซ้ำๆ เริ่มมีปัญหากับการรับรู้ และการเรียบเรียงคำพูด ในระยะนี้ ควรมีการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดมากขึ้น และมีการจัดกิจวัตรประจำวันให้ มีการถามทบทวนในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดหรือให้สรุปสิ่งที่ต้องการสื่อสาร รวมถึงประเมินความสามารถด้านต่างๆ และพฤติกรรมของผู้ป่วย

ระยะที่ 3 เริ่มมีความบกพร่องในเรื่องความรู้ความสามารถมากขึ้น ไม่สามารถจดจำสถานที่ต่างๆ ได้ และเริ่มดูแลตนเองพื้นฐานไม่ได้ อาจทรงตัวได้ไม่ดี หวาดระแวง หูแว่ว การดูแลจึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย และมีการพบแพทย์เพื่อทานยาคุมพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

ระยะที่ 4 ผู้ป่วยอาจออกจากบ้านเร่ร่อนบ่อยขึ้น มีพฤติกรรมซ้ำๆ ตลอด เริ่มขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง และผู้ป่วยอาจจำใครไม่ได้เลย ระยะนี้จำเป็นต้องดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้เลย

การรักษาและป้องกัน

ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาได้ผลจริงจังในการป้องกันการเสื่อมของสมอง หรือหยุดยั้งการตายของเซลล์สมองที่เป็นเร็ว จึงต้องรักษาตามอาการของโรค 2 อย่าง ดังนี้

- รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาควบคุมจิตใจ พฤติกรรมก้าวร้าว ยานอนหลับสำหรับผู้ป่วยที่ไม่นอนในเวลากลางคืน ยาแก้เกร็ง เป็นต้น

- รักษาอาการสมองเสื่อม โดยการให้ยา และดูแลอย่างใกล้ชิด

ผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และเฝ้าสังเกตความเปลี่ยนแปลงในทุกระยะ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกกับโรค ที่สำคัญ ต้องอาศัยความรักและความเอาใจใส่จึงจะช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ดีขึ้นได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

จอตาเสื่อม ภาวะทางสายตาที่ต้องรีบแก้ไข

ดวงตา เป็นอวัยวะที่สำคัญมาก เพราะใช้ประโยชน์ในการมองเห็น ทำให้เราสามารถดำเนินชีวิต

เรื่องน่ารู้ในการตรวจสุขภาพประจำปี

อย่างที่ทราบกันว่า เราควรตรวจสุขภาพประจำปีกันทุกคน โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น ยิ่งต้องตรวจอย่างละเอียดแ

เบาหวานขึ้นตา ป้องกันและรักษาได้อย่างไร

โรคเบาหวาน เป็นโรคอันดับ 1 ของผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เกิดจากการที่มีระดับน้ำตาล

5 โรคสำคัญ สาเหตุเกิดอาการเวียนศีรษะหรืออาการบ้านหมุน

อาการเวียนศีรษะ หลายคนประสบมากับตัวเองมาแล้ว มีอาการ มึนหัว มึนงง ตัวลอยๆ ไม่มั่นคง

ต้อกระจก และต้อหิน สองโรคนี้ต่างกันอย่างไร?

โรคทางตาที่เรามักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งตัวผู้สูงอายุเองก็กลัวที่จะเป็น เพราะอาจส่งผล

หลากวิธีป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และต้องอาศัยการระมัดระวัง เพราะอาจส่งผลต่อร่างกาย