อาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง แม้จะไม่ได้พบบ่อยนัก แต่ก็เกิดขึ้นได้ เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท ที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า การเคี้ยวอาหาร การกลืน การพูด และการแสดงสีหน้าอารมณ์ ซึ่งอาการที่เด่นชัด คือ อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า มีผลต่อรูปทรงและการเคลื่อนไหวใบหน้า
สาเหตุของโรค
- เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง
- เกิดจากโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์
- เกิดจากโรคเนื้องอกในสมอง บริเวณก้านสมองส่วนบน
- เกิดจากอุบัติเหตุต่อสมอง
- เกิดจากโรคอื่นๆ เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคพาร์กินสัน โรคซิฟิลิสขึ้นสมอง เป็นต้น
อาการของโรค
- กล้ามเนื้อบริเวณใบหนน้าอ่อนแรง ไม่มีแรง เช่น กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการกลืนอาหาร การพูด การออกเสียง
- น้ำลายไหลตลอดเวลา ไม่สามารถแลบลิ้นออกมาได้
- แสดงอารมณ์ไม่เหมาะสม เช่น หัวเราะ ร้องไห้
- สำลักอาหาร
- ตรวจพบรีเฟล็กบริเวณใบหน้าส่วนกรามผิดปกติ
การรักษาโรค
ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น คือ ให้ยาลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อ ยาลดน้ำลาย ยาควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ ยาต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น
การดูแลตนเอง
- เมื่อป่วย คุณควรระวังการสำลักอาหาร และการแสดงออกทางอารมณ์ เนื่องจากการทานอาหาร และการกลืนอาหารมีปัญหา ซึ่งหากสำลัก ก็อาจเกิดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ปอดติดเชื้อได้
- ระวังปัญหาทางด้านสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า จึงต้องมีผู้ดูแลและเข้าใจ
- ควบคุมโรคที่เป็นอยู่ให้ดี เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง เพราะทำให้เกิดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือดได้
นอกจากการดูแลตนเองดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น คุณควรงดสูบบุหรี่ ไม่ปล่อยให้อ้วน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และระวังอุบัติเหตุทางสมอง ก็จะช่วยป้องกันโรคได้
เรามักพบเห็นว่าผู้สูงอายุ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มักมีอาการหลงลืมอยู่บ่อยๆ ซ
โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันโรค ทำให้ผู้สูงอ
อาการขี้ลืม มักเกิดขึ้นในวัยสูงอายุเป็นส่วนใหญ่ เช่น จำชื่อเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนานไม่ได้ จำไม่ได้ว่า
สังคมที่วุ่นวายและเสื่อมโทรมในปัจจุบัน ส่งผลให้สุขภาพจิตของคนในสังคมย่ำแย่ตามไปด้วย โดยเฉพาะในผู้สูง
โรคไขมันในเลือดสูง เป็นโรคที่มีความอันตราย อาจนำไปสู่โรคหัวใจ อาการหัวใจขาดเลือด ห