รู้ทันโรคความจำเสื่อม



โรคความจำเสื่อม คงเป็นโรคที่ไม่มีใครปรารถนาจะอยากพบเจอ แม้ว่าจะมีชีวิตที่ย่ำแย่เพียงใด เพราะการความจำเสื่อมไม่ได้เหมือนกับในละครที่จะนำพาไปเจอกับเรื่องราวดีๆ แต่กลับเป็นการพาไปสู่ความทุกข์มหันต์ได้ แม้โรคอัลไซเมอร์จะไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากเรารู้จักใส่ใจ ก็สามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ได้

เราควรดูแลตนเองเพื่อให้ห่างจากโรคอัลไซเมอร์ดังนี้

1. ใส่ใจการหลงลืมของตนเอง
เมื่ออายุเริ่มขึ้นเลข 3 บางคนมักเริ่มมีอาการหลงลืม โดยเริ่มจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ และนานๆ ครั้ง จนเริ่มบ่อยขึ้น ซึ่งหากทำได้ คุณควรจดอาการเหล่านี้เอาไว้ดู และสามารถนำไปประกอบการวินิจฉัยโรคได้ หากคุณมีอาการมากขึ้น

2. หากมีอาการซึมเศร้าควรรีบแก้ไข
อาการซึมเศร้าเป็นอาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจเป็นโรคความจำเสื่อมได้ เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคความจำเสื่อมมักมีการเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อนประมาณ 2 ปี ซึ่งหากมีผู้สูงอายุมีอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์นอกจากนี้คุณก็ไม่ควรปล่อยผู้สูงอายุอยู่ลำพัง เพราะจะนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้เช่นเดียวกัน

การพาผู้สูงอายุทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้ผู้สูงอายุได้ฝึกใช้สมองได้อีกด้วย ทำให้ลดการเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้มากทีเดียวส่วนการสนมนากับผู้สูงอายุก็ควรใช้ถ้อยคำที่กระชับเข้าใจง่าย เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุถามซ้ำบ่อยๆ จนเกิดความรำคาญและไม่อยากพูดเยอะได้

3. อย่ามองข้ามกรรมพันธุ์
หากคุณมีญาติหรือผู้สูงอายุในบ้าน หรือตา ยาย พ่อ แม่ คุณเองควรใส่ใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ให้มาก โดยถ้าคุณเริ่มมีอาการที่บ่งบอกขึ้นมา ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที แม้จะอายุยังไม่มากก็ตาม ซึ่งแพทย์จะสามารถตรวจหาความเสี่ยงให้กับคุณได้

4. หมั่นบริหารความจำและสมอง
ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากิจกรรมทำเป็นประจำ และอ่านหนังสือ เล่นเกมบ้างทำสิ่งที่ฝึกความจำ

5. ตรวจอาการเสี่ยง
นั่นคือ หลงลืมง่าย อารมณ์แปรปรวน และทำเรื่องที่ไม่คาดคิดได้ หากมีอาการ 3 ข้อต่อไปนี้ คุณก็เข้าข่ายเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์ได้มาก จึงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความเสี่ยงต่อไป

โรคความจำเสื่อม แม้ไม่มีความเจ็บปวดตามร่างกาย แต่ก็อาจสร้างความเจ็บปวดให้จิตใจ และอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้น เราควรหมั่นตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคสมองเสื่อม รักษาอย่างไร

เรามักพบเห็นว่าผู้สูงอายุ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มักมีอาการหลงลืมอยู่บ่อยๆ ซ

ข้อปฏิบัติผู้สูงวัย หากไม่อยากสมองเสื่อม

อาการสมองเสื่อม ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ดูแลหลายท่านอาจเข้าใจว่าเป็นเพียงอาการที่เกิด

ดูแลตัวเองดี ก็ไม่ต้องกลัวโรคภัยในวัยสูงอายุ

แม้ว่าในวัยสูงอายุ จะมีโรคภัย และอาการเจ็บป่วยมาถามหาตลอดเวลา แต่ก็ใช่ว่าเราจะต้

อาการข้อไหล่ติด ออกกำลังกายช่วยได้

โรคข้อไหลติด (Adhesive Capsulitis / Frozen Shoulder) เป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มอายุ 40-60 ปี จะมีอาการปวดตื้อๆบริเวณข้อไหล่ มักจะปวดมาก

ดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคตาแห้ง

ผู้สูงอายุ มักมีอาการต่างๆ ในทางที่ไม่ดี หรือเจ็บป่วยได้บ่อย เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอย และการทำ

กฎ 5 ข้อ ป้องกันกระดูกพรุนในผู้สูงวัย

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นทุกวัน กระดูก ย่อมผุกร่อน และบางลงไปตามกาลเวลา ในวัยสูงอายุ จึงไม