ในวัยสูงอายุ เรามักพบว่า มีผู้สูงอายุจำนวนมาก ที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง และมีโรคประจำตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต เป็นต้น
โรคบางอย่าง สามารถตรวจพบได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีอาการ และสามารถรักษาประคับประคองอาการได้ แต่โรคอีกหลายอย่าง ก็มักเป็นเหมือนภัยเงียบ คืออาการไม่เด่นชัด หรือระยะที่แสดงอาการก็เป็นมานานเสียแล้ว เป็นต้น เราจะมาดูว่า 6 โรคร้าย ที่เป็นเหมือนภัยเงียบ มีโรคใดบ้างที่ต้องเฝ้าระวัง
โรคความดันโลหิตสูง โรคนี้ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดง แต่บางครั้งจะมีอาการใจสั่น ปวดศีรษะ หน้ามืด ตาพร่า ถ้าไม่รักษาตั้งแต่เบื้องต้นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น อัมพฤกษ์ ตาบอด ไตวาย หัวใจวาย เป็นต้น
โรคระบบทางเดินปัสสาวะ ในผู้ชายสูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นต่อมลูกหมากโต จนกรดท่อปัสสาวะทำให้ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะกลางคืน ปัสสาวะออกไม่หมดทำให้เหลือบางส่วนไว้ในกระเพาะปัสสาวะ อันเป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ ในผู้หญิงสูงอายุ มักจะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือทางเดินปัสสาวะผิดปกติ
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก พบมากในชายสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป สาเหตุมาจากภาวะความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมนเพศชายทำให้เซลล์ระเร็งของต่อมลูกหมากมีการเจริญเติบโตมากขึ้น การกินอาหารที่มีไขมันสูง รวมถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นต้น โดยในระยะเริ่มแรกของมะเร็งต่อมลูกหมาก มักไม่แสดงอาการใดๆ
โรคตา โรคตาที่ผู้สูงอายุเป็นกันมาก คือ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคต้อกระจก โรคต้อหิน และน้ำวุ้นตาเสื่อม ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ และมีอาการที่แตกต่างกัน แต่สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคตาเกิดจากความเสื่อม เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ทำให้การมองเห็นลดลง ซึ่งกว่าที่จะทราบว่าเป็นโรคตา อาจสูญเสียการมองเห็นไปแล้ว
โรคไต ในช่วงแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้น จะทำหน้าที่ลดลง เกิดการคั่งของเสียมากขึ้น ความผิดปกติและอาการแสดงจะมากขึ้น เช่น อ่อนเพลีย บวม เบื่อง่าย ความดันโลหิตสูง ถ้าเป็นมากใกล้เป็นไตวายเรื้อรัง จะเพิ่มอาการซีด คันตามตัว เบื่ออาหาร อันจะนำไปสู่การล้างไต ฟอกเลือด และเปลี่ยนไตในที่สุด
โรคหัวใจขาดเลือด สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคนี้ มาจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พบมากในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ อ้วนลงพุง ขาดการออกกำลังกาย หรือคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ยิ่งทำให้โอกาสเป็นโรคสูงขึ้น อาการสำคัญคือ เจ็บแน่นหน้าอกระหว่างราวนม ลิ้นปี่ คล้ายมีอะไรมากดทับ หายใจไม่สะดวก อาจร้าวไปที่คอ กราม แขนซ้ายด้านใน และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น เย็นศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น ดังนั้น เมื่อเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
วิธีดูแลตนเองให้ดีที่สุด คือการหมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติที่เกิดขึ้น อย่านิ่งนอนใจว่าเป็นเพียงอาการทั่วไป แต่ควรไปพบแพทย์ทุกครั้ง เพราะอาจเป็นอาการของโรคร้ายได้
ข้อเข่าเสื่อม พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ เรียกได้ว่า อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุทุกท่าน
โรคกระดูกและข้อที่มักพบในผู้สูงอายุ คือ โรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก
หากพูดว่า “สมองฝ่อ” เรามักสงสัยว่า เมื่ออายุของเราเพิ่มมากขึ้น จะสามารถเป็นโรคสม
เรื่องของกระดูก สำคัญมากสำหรับช่วงวัยสูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีมวลกระดูกน้อ
เรามักสังเกตเห็นว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุมากๆ มักมีกระบริเวณใบหน้า และผิวส่วนต่างๆ
ต้อเนื้อ และ ต้อลม เป็นชนิดของโรคตา ที่ไม่รุนแรงเท่ากับต้อหินและต้อกระจก แต่