ทำอย่างไร เมื่อนอนไม่หลับ



ปัญหาสำหรับผู้สูงอายุนั้น มีหลายประการ ปัญหาหนึ่งซึ่งส่งผลต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ คือ การนอนไม่หลับ

สาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ มี 2 ประการ ดังนี้

เกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
ร่างกายที่เสื่อมถอย ส่งผลต่อการนอนของผู้สูงอายุ คือ
- นอนตอนกลางคืนได้น้อยลง
- หลับยาก
- หลับตื้นนานขึ้น และช่วงเวลาที่หลับสนิทลงลด
- มักตื่นบ่อยกลางดึก

เกิดจากโรคที่เป็นพยาธิสภาพซ่อนอยู่
สาเหตุนี้ เกิดขึ้นจากเหตุผล 5 ข้อ คือ
- จากยาที่ใช้ โดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลางหรือสมอง
- เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ ทำให้ต้องตื่นมาปัสสาวะในเวลากลางคืนบ่อย
- ความเจ็บปวด ส่งผลต่อการนอน
- โรคสมองเสื่อมและภาวะจิตผิดปกติ
- การหยุดหายใจชั่วขณะ และถูกกระตุ้นจากสมองอย่างรุนแรงเพื่อให้หายใจ

การปฏิบัติตน
เมื่อผู้สูงอายุมักนอนไม่หลับ หรือหลับได้ยากมากในเวลากลางคืน ควรปฏิบัติตน ดังนี้
- ไม่นอนกลางวัน หรือหากง่วงจริงๆ ควรนอนไม่เกินครึ่งชั่วโมง
- ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มกาเฟอีน โดยเฉพาะเวลาเย็นเป็นต้นไป
- ไม่ควรดื่มน้ำในช่วงเวลา 4-5 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ช่วยลดปัญหาการปวดปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
- ออกกำลังกายระหว่างวันให้มากขึ้น พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้มาก
- หากนอนไม่หลับ ควรหากิจกรรมทำเพื่อรอเวลาง่วง ไม่ควรพยายามนอนให้หลับ
- ทานมื้อเย็นให้เป็นเวลา และไม่ทานอาหารในช่วงดึก
- จัดสิ่งแวดล้อมในห้องให้เงียบ และมืด อากาศถ่ายเทดี ไม่มีกลิ่นรบกวน
- ฝึกทำสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบ

ถ้าหากคุณนอนไม่หลับเป็นประจำ ไม่ว่าจะปฏิบัติตนหรือดูแลตนเองอย่างดีอย่างไรก็ตาม ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูให้ละเอียด เพราะอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคบางอย่างได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการผิดปกติของผู้สูงอายุ ที่คุณควรใส่ใจ

ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่มีหลากหลายอารมณ์ เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สภาพร

เมื่อผู้สูงวัยป่วยเป็นโรคหัวใจและต้องการออกกำลังกาย

ผู้ป่วยโรคหัวใจ มักได้รับการแนะนำว่าไม่ควรออกกำลังกาย เพราะอาจทำให้อาการของโรคกำเ

9 คำแนะนำ สำหรับผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยเลข 4 ปลายๆ คุณควรที่จะใส่ใจตนเองมากขึ้น เพราะร่า

สารพันปัญหาในผู้สูงอายุ

อายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สภาพร่างกายของผู้สูงอายุเสื่อมถอยลง รวมถึงมีโรคภัยรุมเร้า ทำให้สุขภาพใจแล

ข้อแนะนำในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ มักคิดว่าตนเองอยู่ในช่วงชีวิตที่ต้องพบเจอกับความเสื่อมโทรมของร่างกาย ค

การขาดฮอร์โมน การทดแทนฮอร์โมน และการเตรียมเข้าสู่วัยทอง

ในวัยสูงอายุ ตั้งแต่อายุเริ่มเข้าเลข 4 โดยเฉพาะเมื่ออายุเกิน 45 ปี ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร