การปฏิบัติตน เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม



ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ โดยเฉพาะสตรีในวัยทอง ที่มักมีปัญหากระดูกพรุน และข้อเสื่อมได้ง่าย เนื่องจากหมดฮอร์โมน

เมื่อร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง ประกอบกับบางรายที่ทำงานหนักมาตลอดชีวิต จึงเกิดภาวะข้อเสื่อม โดยเฉพาะข้อเข่าและข้อเท้า ซึ่งต้องรับน้ำหนักมากที่สุด

ปัญหาเรื่องข้อเสื่อม ยังอาจพบได้ในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากมาตลอดชีวิต ทำให้กระดูกแตกหักง่าย เดินลำบาก เกิดภาวะข้อแข็ง เกร็ง และปวดอย่างรุนแรงตามมา

การดูแลตนเองที่ดีที่สุด คือการชะลอไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าวให้นานที่สุด เพื่อช่วยยืดอายุของข้อต่อ และระบบโครงสร้างของร่างกายให้ใช้งานได้เนิ่นนาน และมีประสิทธิภาพดังนี้

หมั่นออกกำลังกาย
คุณควรออกกำลังกายในลักษณะยืดเส้นยืดสาย พร้อมการฝึกสมาธิ หรือลมปราณควบคู่กันไป เช่น การวิ่ง การว่ายน้ำ การรำมวนจีน การฝึกโยคะ เป็นต้น

ฝึกท่าทางการนั่ง การยืน การเดิน ให้ถูกสุขลักษณะที่ดี
เพื่อไม่ให้ข้อส่วนใดส่วนหนึ่งแบกรับน้ำหนักมากเกินไป การยืนตรง การนั่งหลังตรงไม่นั่งหลังงอ การยกของหนักด้วยท่าที่ถูกต้อง ห้ามใช้หลังรับน้ำหนักในการยกเป็นอันขาด การใช้ที่นอนที่นุ่มจนเกินไปอาจทำให้กระดูกสันหลังงอ แลรับน้ำหนักมากไปจนเกิดอาการปวดหลัง และกลายเป็นหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมได้

ควบคุมน้ำหนัก
ไม่ปล่อยให้ร่างกายโภชนาเกินจนอ้วนได้ จะเป็นภาระกับกระดูกหัวเข่าทั้งสองข้างที่ต้องแบกรับน้ำหนักร่างกาย

งด หรือลดการบริโภคแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่
เพราะมีผลต่อสุขภาพของกระดูก และข้อต่อในระยะยาว หรือแม้กระทั่งการใช้ยาบางประเภท เช่น สเตียรอยด์ ซึ่งมีผลให้ข้อเสื่อม และกระดูกผุได้ หากจำเป็นต้องใช้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์

รับประทานอาหารที่มีส่วนในการเสริมสร้าง และซ่อมแซมกระดูกอ่อนที่ข้อต่อ
เพื่อร่างกายนำไปใช้ในการสร้างโปรตีน คอลลาเจนสำหรับกระดูกอ่อน และเอ็น รวมถึงกระตุ้นการสร้างเยื่อเมือกหล่อเลี้ยงข้อต่อ

สิ่งสำคัญในการดูแลตนเอง คือการที่คุณไม่ใช้ข้อต่อในการทำงานหนัก และหมั่นดำเนินชีวิตประจำวันอย่างระมัดระวัง ก็จะช่วยให้ข้อและกระดูกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปได้อีกนาน


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทานอาหารอย่างไร เมื่อเป็นโรคเกาต์

ในช่วงบั้นปลายของชีวิต คุณอาจอยากมีความสุขมากที่สุด ได้พักผ่อน ได้ทานของอร่อย แต่กา

โรคผิวหนัง อาการคัน และผื่น กับวัยของผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ผิวหนังจะเริ่มเหี่ยวลง และอาจมีอาการคันมาก มีผื่นขึ

กฎ 5 ข้อ ป้องกันกระดูกพรุนในผู้สูงวัย

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นทุกวัน กระดูก ย่อมผุกร่อน และบางลงไปตามกาลเวลา ในวัยสูงอายุ จึงไม

บำบัดโรคทางใจในผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ นอกจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง จนอาจเกิดอาการเจ็บ

โรคซึมเศร้า ภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพจิต

สังคมที่วุ่นวายและเสื่อมโทรมในปัจจุบัน ส่งผลให้สุขภาพจิตของคนในสังคมย่ำแย่ตามไปด้วย โดยเฉพาะในผู้สูง

เป็นเบาหวานหรือไม่ มีการวินิจฉัยอย่างไร

โรคเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งโรค ที่มักพบในผู้สูงอายุ เนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ป