ผู้ป่วยโรคหัวใจ มักได้รับการแนะนำว่าไม่ควรออกกำลังกาย เพราะอาจทำให้อาการของโรคกำเริบ ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ มีอาการหนักเบาไม่เท่ากัน ผู้ที่เป็นโรคหัวใจจึงสามารถออกกำลังกายได้เช่นเดียวกัน แต่ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เพราะการออกกำลังกายเป็นการบำรุงหัวใจเพียงวิธีเดียวที่คุณสามารถทำได้ โดยที่ไม่ต้องหายาบำรุงหัวใจ หรืออาหารใดๆ มาทาน เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ช่วยบำรุงหัวใจได้จริงๆ
แม้ว่าอาหารที่ช่วยป้องกัน หรือบำรุงรักษาโรคหัวใจจะไม่มี แต่ก็มีอาหารที่ช่วยป้องกันไม่ให้อาการกำเริบได้ เช่น อาหารไขมันต่ำ เกลือต่ำ ผักและผลไม้ ที่ช่วยป้องกันอาการกำเริบเนื่องจากเป็นอาหารที่ไม่ส่งผลกระทบต่อหัวใจนั่นเอง ดังนั้น การดูแลรักษาโรคหัวใจที่ดีที่สุด จึงคือการออกกำลังกาย
ผลดีของการออกกำลังกายสำหรับผู้เป็นโรคหัวใจ
- สามารถออกกำลังกายได้มากขึ้นและนานขึ้น มีระบบการหายใจดีขึ้น และมีการแลกเปลี่ยนก๊าซเพิ่มขึ้น
- มีความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายลดลง และเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้น จึงมีอาการเจ็บหน้าอกลดลง
ปัจจัยเสี่ยงของการออกกำลังกาย
ต้องยอมรับว่าผู้ป่วยโรคหัวใจ เมื่อออกกำลังกายก็ย่อมต้องมีปัจจัยเสี่ยงอย่างแน่นอน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ควรได้รับการประเมินจากแพทย์ก่อนการออกกำลังกาย และควรรู้จักโรคของตนเอง ไม่ควรออกกำลังกายหนักแม้จะคิดว่าตนเองไหวก็ตาม และเมื่ออัตราการเต้นของหัวใจเริ่มเร็วเกินไป ควรหยุดทันที
การเริ่มต้นออกกำลังกาย
- ผู้ที่มีโรคหัวใจ ต้องอบอุ่นร่างกายนานกว่าคนทั่วไป คือ 10-15 นาทีและออกเพียง 20-30 นาทีก็เพียงพอ
- ควรออกกำลังกาย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ก็เพียงพอ และไม่ควรออกกำลังกายหากมีอาการเพลีย
- ควรมีการทดสอบความหนักของการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง
- ออกกำลังกายโดยอยู่ในการเฝ้าดูแล ติดตามอาการจากแพทย์ และพบแพทย์ตามนัดเสมอ
การออกกำลังกาย มีความสำคัญต่อคนเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนมั่วไป หรือในผู้ที่มีโรคหัวใจก็ตาม เพราะช่วยให้การเต้นของหัวใจทำงานได้ดีขึ้น ส่งผลให้หัวใจแข็งแรงขึ้นได้ และในการออกกำลังกาย ควรคำนึงถึงความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรกเสมอ
วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน เป็นวัยที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนในช่วงอ
ผู้สูงอายุ มักมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากที่เคยเป็นในวัยหนุ่มสาว แม้ว่าจะไม่ได้เกิดขึ้
ในวัยสูงอายุ แม้ว่าสุขภาพร่างกายจะเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆ แต่ผู้สูงอายุทุกท่าน ก็ยังปรา
เข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุแล้ว สุขภาพอะไรต่างๆ นานา ก็ย่อมที่จะเสื่อมโทรมไปตามสภาพ สายตา
โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายก็จริง แต่อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดต่อจิตใจ