ผู้สูงอายุหลายท่าน มักตรวจพบว่าตนเองมีโรคประจำตัว และมีอาการของโรคเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง หนึ่งในนั้นคืออาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน
ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกเฉียบพลัน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- เกิดจากโรคที่เกิดจากระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร
- เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจ หรือหลอดเลือดตีบ
- เกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตับ
แม้จะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม หากขาดความเข้าใจในการรักษาก็อาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้น เราจึงควรเรียนรู้จักการรักษาผู้ป่วยเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน
สัญญาณอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด
มักมีสัญญาณดังนี้คือ เจ็บแน่นหน้าอกระหว่างราวนม ลิ้นปี่ คล้ายมีอะไรบีบรัด หรือกดทับ อาจร้าวไปที่คอ กราม แขนซ้ายด้านใน และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย คือ เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น เป็นต้น
โอกาสในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรค คือผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ซึ่งมีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เครียด ขาดการออกกำลังกาย กรรมพันธุ์ร่วมด้วย
การรักษาอาการเจ็บแน่นหน้าอกเฉียบพลัน
- รีบพาส่งโรงพยาบาล หรือติดต่อรถของโรงพยาบาลมารับให้เร็วที่สุด
- ให้ยาละลายลิ่มเลือด ภายใน 30 นาที หลังผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล
- การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ภายใน 90 นาที หลังผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล
- การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ
การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และการเจ็บแน่นหน้าอกเฉียบพลัน ญาติและคนใกล้ชิดควรหมั่นสังเกตอาการว่าอยู่ในภาวะหัวใจขาดเลือดหรือไม่ และรีบพาส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ก็จะช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการหลงๆ ลืมๆ นี้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการไม่เอาใจใส่ การรีบเร่ง ความกังวลในใจ การทานยาบางชนิด เป็นต้น
โรคภัย ใครๆ ก็กล่าวว่าเป็นของคู่กันกับผู้สูงอายุ เพราะร่างกายที่อ่อนแอลง เสื่อมสภาพ
ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่สภาพร่างกายอ่อนแอลง และมักมีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสู
ผู้สูงอายุ มักมีอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงรู้สึกไม่ดี เมื่อมีอาการเจ็บป่วย การนวดผ่อ
ระบบในร่างกายของคนเรานั้นมีด้วยกันมากมายหลายระบบ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงสูงอายุ ระบบต
ปัญหาน้ำหนักลดในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่พบได้ส่วนมาก ซึ่งเมื่อไปพบแพทย์มักตรวจพบว่ามี