แม้ว่าโรคมะเร็งดวงตา จะเกิดได้น้อยมาก แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น เราจึงควรรู้ทันโรคมะเร็งดวงตา เพื่อป้องกัน และดูแลตนเองอย่างดี
โรคมะเร็งดวงตาเป็นโรคที่รักษาหาย หากรักษาแต่เนิ่นๆ มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับว่าเกิดโรคมะเร็งกับเนื้อเยื่อชนิดใดของตา เช่น เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อรอบๆ ลูกตาภายในเบ้าตา เนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลือง เป็นต้นอย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด และไม่ทราบปัจจัยเสี่ยงในการเกิด
อาการของโรค
- มองเห็นมัวลงกว่าเดิม
- มีก้อนเนื้อหรือแผลเรื้อรังเมื่อเกิดกับเนื้อเยื่อดวงตาส่วนที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น หนังตา
- ตาโปน เมื่อเกิดกับเนื้อเยื่อในเบ้าตา หรือในลูกตา
- เมื่อโรคลุกลามมากมักตาบอด หรือคลำได้ต่อมน้ำเหลืองหน้าใบหู หรือบริเวณลำคอด้านเดียวกับโรค
ระยะของโรค
โรคมะเร็งดวงตาแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
- ระยะที่ดวงตายังมองเห็นดี แพทย์สามารถรักษาเก็บดวงตาไว้ได้
- ระยะที่ตาบอดแล้ว หรือแพทย์ไม่สามารถรักษาเก็บดวงตาไว้ได้
- ระยะโรคลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่โรคแพร่กระจายเข้ากระแสโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆ ทั้งปอด กระดูก ตับ น้ำไขสันหลัง หรือสมอง เป็นต้น
การรักษาและผลข้างเคียง
การรักษาทำได้ 3 วิธี คือ การผ่าตัด รังสีรักษา และยาเคมีบำบัด ซึ่งผลข้างเคียงจากการรักษา อาจทำให้เสียเลือด แผลติดเชื้อ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ผมร่วง ภาวะซีด ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ไปจนถึงตาบอดได้เช่นกัน
โรคมะเร็งดวงตา พบได้น้อย และสามารถรักษาให้หายได้ หากรักษาได้แต่เนิ่นๆ คุณจึงหมั่นพบจักษุแพทย์อยู่เสมอๆ เพื่อตรวจดูดวงตาว่ามีความผิดปกติอย่างไรหรือไม่ และที่สำคัญ ดูแลตนเองอย่างดี ถนอมสายตาที่มีเพียงคู่เดียวให้ดีที่สุด เซลล์มะเร็งเกิดจากความเสื่อมของเซลล์บริเวณนั้น ดังนั้น หากจะดูแลตนเองให้ดีได้ ต้องเลือกสิ่งดีๆ เข้าสู่ร่างกายนั่นเอง
เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวที่ได้รับความสนใจจากสังคมเกี่ยวกับอาการป่วยของ คุณสมรักษ์ คำสิงห์ ที่ต้องเข้าร
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะสูญเสียความชุมชื้นได้ง่าย ทำให้ผิวแห้ง
หากคุณมีผู้สูงอายุในบ้านของคุณ หรือกำลังเป็นผู้สูงอายุอยู่ในตอนนี้ คุณคงอาจเคยสัม
แม้ว่าอาการอาหารเป็นพิษ จะเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในวัยสูงอายุ ซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำกว
กระดูกพรุน เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เนื่องจากมวลกระดูกลดน้อยลง และสามารถเกิ