หากพูดว่า “สมองฝ่อ” เรามักสงสัยว่า เมื่ออายุของเราเพิ่มมากขึ้น จะสามารถเป็นโรคสมองฝ่อได้ทุกคนหรือไม่ เพราะสมองของคนเราย่อมต้องฝ่อไปตามกาลเวลา
ภาวะสมองฝ่อ เป็นความผิดปกติของสมอง โดยเฉพาะด้านความจำ ที่เสื่อมลงไปทีละน้อย สมองของคนเรา จะมีการเสื่อมของเซลล์สมอง มีจำนวนเซลล์ลดลง เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง ทำให้เกิดภาวะสมองฝ่อซึ่งมักเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป
ภาวะสมองฝ่อ สามารถเกิดกับทุกคนได้ เพราะความเสื่อมของสมองไปตามกาลเวลา แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะถึงขั้นเป็นโรคสมองฝ่อ
มีอาการดังนี้
- หลงลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
- สมองด้านการรับรู้ ความเข้าใจและมีเหตุผลเสื่อมลง
- ขาดความสนใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมรอบๆ ตัวเอง
- หากเป็นมากขึ้น บุคลิกภาพของผู้สูงอายุนั้นจะเสียไป
- บางรายอาจมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขนและขา ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก
สาเหตุของการเกิด
- เกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหลายๆ เส้น
- เกิดการตายของเซลล์สมองหลายๆ ตำแหน่ง
- ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก
แต่สาเหตุเหล่านี้ อาจทำให้ความจำเสื่อมเท่านั้น ไม่ถึงกับทำให้เป็นอัมพาต เหมือนโรคสมองเสื่อมอื่นๆ
การรักษา
การรักษาโรคสมองฝ่อ เกิดจากการดำเนินชีวิตอย่างระมัดระวัง ฝึกใช้สมองและความจำให้มาก งดทานยาที่ทำให้เกิดอาการสมองฝ่อ เช่น ยาแก้ปวด ยานอนหลับ เป็นต้น และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ก็เป็นการรักษาตามอาการของโรค เพื่อคงไว้ซึ่งอาการสมองฝ่อที่อาจเป็นเพิ่มมากขึ้นได้
แม้ว่าร่างกายของเราจะเสื่อมโทรมไปตามสภาพ และไม่อาจป้องกันอาการสมองฝ่อได้อย่างเต็มที่ แต่การดูแลตนเอง ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงอบายมุขทั้งหลาย ก็เป็นเครื่องป้องกันโรคสมองฝ่อที่จะทำให้เกิดความจำเสื่อมได้เป็นอย่างดี
ในวัยสูงอายุ เป็นวัยที่มักจะคิดมาก และมีความกังวลใจในทุกเรื่อง นั่นเพราะสุขภาพร่างกา
แคลเซียม (Calcium) เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลสุขภาพกระดู
ในวัยสูงอายุ เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้สูงอายุควรดูแลตนเองให้มีสุขภาพทั้
อาหาร เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่มนุษย์เราจะขาดไม่ได้ เพื่อใช้ในการประทังชีวิต และควา
อาการหลงๆ ลืมๆ นี้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการไม่เอาใจใส่ การรีบเร่ง ความกังวลในใจ การทานยาบางชนิด เป็นต้น