แคลเซียม แร่ธาตุที่จำเป็นในช่วงวัยสูงอายุ



แคลเซียม มีบทบาทสำคัญต่อการเสริมสร้างกระดูกและฟันของคนเรา และมีความสำคัญในช่วงวัยสูงอายุมาก เพราะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะบางลงเรื่อยๆ ทำให้กระดูกพรุน และเปราะหักได้ง่าย

โดยปกติ ร่างกายจะเก็บแคลเซียมไว้ที่กระดูกและฟัน เมื่อใดที่ร่างกายต้องการนำแคลเซียมไปใช้ ก็จะมีการสลายเอาออกมาจากกระดูกและฟันเป็นหลัก การทานแคลเซียม จำเป็นต้องทานอย่างสม่ำเสมอ

สาเหตุที่ร่างกายขาดแคลเซียม มี ดังนี้

- ทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่สม่ำเสมอ ทานบางมื้อ บางช่วงเท่านั้น ส่งผลให้เกิดภาวะความบกพร่องในร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร เช่น การมีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ท้องเสียหรือติดเชื้อในทางเดินอาหาร มะเร็งลำไส้ที่ทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลงอย่างมาก

- การขาดวิตามินดี เนื่องจากวิตามินดีเป็นวิตามินที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม หากร่างกายขาดวิตามินดี ก็จะทำให้ขาดแคลเซียมตามไปด้วย

- การรับประทานอาหารจำพวกไขมัน โปรตีน หรืออาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ผักโขม หรือโกโก้ ทำให้ร่างกายลดการดูดซึมเกลือแร่แคลเซียมได้

- ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงในเพศหญิง โดยเฉพาะในวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน ส่งผลให้ร่างกายลดการดูดซึมแคลเซียมลง

- สารคาฟอีนจากกาแฟ นิโคตินจากบุหรี่ และแอลกอฮอล์จากสุราเป็นสารเคมีที่ลดการดูดซึมเกลือแร่แคลเซียมทั้งสิ้น

- ความเครียดส่งผลให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดสูง ทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง

อาการเมื่อขาดแคลเซียม

- ทำให้กระดูกอ่อนหรือหักง่าย กระดูกพรุน ฟันโยกหรือหลุด ปวดหลัง หลังโก่งงอ ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งในช่องท้องมากผิดปกติในระหว่างมีประจำเดือนของผู้หญิง

- กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ เกิดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ

- ชาตามปลายมือปลายเท้า หรืออาการเจ็บกล้ามเนื้อ

ดังนั้นเพื่อป้องกันอาการดังกล่าว โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และผู้สูงอายุ ควรรับประทานอาหารที่ให้เกลือแร่แคลเซียมประมาณ 1,000-1,2000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกบาง เปราะ หักง่าย และลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็งอีกด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง

หัวใจขาดเลือด ภัยใกล้ตัวของผู้สูงอายุ

โรคที่เมื่ออาการกำเริบแล้วอาจส่งผลถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต เชื่อว่าหลายๆ คนคงนึกถึ

โรคยอดนิยม ที่มักจะมาเยือนผู้สูงอายุ

ถ้าคุณเป็นผู้สูงอายุ หรือกำลังจะก้าวเท้าเข้าสู่ช่วงวัยที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะ

เรื่องรักที่ไม่ลับของผู้สูงอายุ

เรื่องของอารมณ์ทางเพศ หรือการมีเพศสัมพันธ์ ค่อนข้างเป็นเรื่องปิดในสังค

ภาวะสมองฝ่อ เกิดกับผู้สูงอายุทุกคนหรือไม่ และจะป้องกันอย่างไร

หากพูดว่า “สมองฝ่อ” เรามักสงสัยว่า เมื่ออายุของเราเพิ่มมากขึ้น จะสามารถเป็นโรคสม

ทำอย่างไร เมื่อเป็นไมเกรน

โอ๊ย ปวดหัวจริงๆ สงสัยจะเป็นไมเกรนแน่ๆ แต่จะรู้ได้อย่างไรนะว่

อาการกระตุกของเปลือกตาและมุมปาก

หากคุณมีอาการกระตุกของเปลือกตาและมุมปาก โดยเป็นๆ หายๆ อยู่บ่อยๆ และเมื่อไปพบแพทย์ แ