ภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว ในผู้สูงอายุ



ผู้ที่เป็นโรคหัวใจต่างๆ มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลวได้ตลอดเวลา เป็นภาวะที่หัวใจหยุดทำงานหรือหยุดเต้น จนทำให้เสียชีวิตได้

การรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
การที่หัวใจหยุดเต้น เกิดจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตาย เสียการบีบตัว จนทำให้เสียชีวิตในที่สุด
การรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ปัจจุบันใช้วิธีการคลาย หรือสลายการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้อีกครั้ง โดยมี 2 วิธี คือ
- การใช้ยาละลายลิ่มเลือด
ยาละลายลิ่มเลือดจะทำให้หลอดเลือดโคโรนารีคลายการอุดตันได้เร็วขึ้นมาก ผู้ป่วยจึงมีอาการดีขึ้นจากการเจ็บแน่นหน้าอก และหายใจลำบาก ทำให้หัวใจสามารถกลับมาบีบตัวได้ดีขึ้น และจะได้ผลดีมากขึ้น หากให้ยาได้ในช่วงเวลาที่กล้ามเนื้อหัวใจยังตายไม่หมด คือใน 6 ชั่วโมงแรก โดยเฉพาะ 1-2 ชั่วโมงแรก
- การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยลูกโป่ง
สำหรับผู้ป่วยบางรายมีข้อจำกัดในการใช้ยาละลายลิ่มเลือด จึงต้องใช้การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยลูกโป่ง ซึ่งก็ได้ผลดีไม่แพ้การใช้ยาละลายลิ่มเลือดเช่นกัน

จะเห็นได้ว่า ใน 6 ชั่วโมงแรกหลังจากมีการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ หรือเมื่อผู้ป่วยมีอาการ เป็นช่วงที่มีความสำคัญต่อการรักษาเป็นอย่างมาก ดังนั้น ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที และญาติควรเฝ้าระวัง สังเกตอาการที่เป็นในระหว่างนั้นด้วย ก็จะลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้มาก

ข้อแนะนำ
- หากมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ควรรีบพบแพทย์ ซึ่งอาการดังกล่าว คือ เจ็บแน่นหน้าอกแม้ในขณะที่อยู่เฉยๆ เป็นนานกว่า 30 นาที
- ผู้ที่เป็นอยู่แล้ว หากมีอาการดังกล่าว และไม่ดีขึ้นหลังจากอมยาไนโตรกลีเซอรินไปแล้ว 2-3 ครั้ง ควรรีบไปที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล เนื่องจากอาจมีการอุดตันเพิ่ม
- ควรลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอาการ หรือโรค ด้วยการทานควบคุมอาหารโดยเฉพาะประเภทไขมัน แป้ง และน้ำตาล รวมไปถึงควบคุมโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงด้วย

เมื่อเกิดอาการหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เป็นวินาทีชีวิตที่ไม่มีใครอยากสัมผัส และแม้จะรักษาได้ก็ไม่แน่ว่าจะได้ผลดีที่สุด ดังนั้น การดูแลตนเองอย่างดี และลดปัจจัยเสี่ยง ก็ช่วยให้คุณมีชีวิตที่ยืนยาวได้มากกว่าแน่นอน


บทความที่เกี่ยวข้อง

มารู้จักกับ “โลก” ของผู้ป่วยอัลไซเมอร์

เมื่อโลกของเรากำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ”  สัดส่วนจำนวนประชากร “ผู้สูงวัย” เพิ่มมากขึ้นพ

การดูแลตนเองสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูง

โรคไขมันในเลือดสูงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ หากเป็นแล้ว ก็ส่งผลต่อคุณภาพของ

อาการนอนไม่หลับ ก็บ่งบอกโรคได้นะ

ใครๆ ก็พูดว่า “อาการนอนไม่หลับ เป็นโรคของคนแก่” นั่นก็หมายความว่า เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ใครๆ ก็ส

เป็นโรคความดันโลหิตสูง จะดูแลตนเองอย่างไร

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และสามารถตรวจพบได้ง

โรคซึมเศร้า ภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพจิต

สังคมที่วุ่นวายและเสื่อมโทรมในปัจจุบัน ส่งผลให้สุขภาพจิตของคนในสังคมย่ำแย่ตามไปด้วย โดยเฉพาะในผู้สูง

6 วิธีรักษา โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (รองช้ำ)

6 วิธีรักษา โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (รองช้ำ) โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (รอ