ในช่วงวัยสูงอายุ ผู้สูงอายุมักพบว่าตนเองมีโรคประจำตัว หรือมักเจ็บป่วยบ่อย เนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย ประกอบกับการดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องทานยาหรือใช้ยาเป็นประจำ
การใช้ยาในผู้สูงอายุ ประกอบด้วย
- การใช้ยาที่ไม่เป็นอันตราย เช่น ยาบำรุงทั่วไป วิตามิน เป็นต้น
- การใช้ยาที่อาจเกิดอันตราย คือยาเฉพาะโรค หรือยารักษาตามอาการ เป็นต้น
ผู้สูงอายุส่วนมากมีการใช้ยาที่อาจเกิดอันตราย คือ ยาที่ต้องระมัดระวัง ดังนี้
- จำนวนที่ควรรับประทาน
- การออกฤทธิ์ของยา
- เวลาในการทานยา
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ผู้สูงอายุควรปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และถามแพทย์ให้แน่ใจ หากมีข้อสงสัย หรือไม่เข้าใจในวิธีรับประทานที่ถูกต้อง เพื่อผลดีต่อตนเอง และป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้น
ปัญหาในการใช้ยา
ปัญหาของผู้สูงอายุในการใช้ยา คือ ลืมทานยา ทานไม่ครบจำนวน รวมไปถึงการตั้งใจไม่ทาน การไม่เห็นคุณค่าของการรักษาด้วยยาตามที่แพทย์สั่ง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ ทำให้อาการของโรคเลวลง และไม่สามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การแก้ปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ
การแก้ปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ นอกจากตัวผู้สูงอายุเองแล้ว บุตรหลานหรือผู้ดูแล ก็ควรมีส่วนในการเข้ามาดูแล ดังนี้
- ควรจดรายละเอียดการใช้ยาอย่างชัดเจน และได้ใจความ วิธีรับประทาน จำนวน เวลาในการรับประทาน รวมถึงจดชื่อยาที่หน้าซองอย่างเห็นได้ชัด เพื่อป้องกันการทานยาผิด
- หากผู้สูงอายุมีปัญหาในการมองเห็น มีปัญหาด้านความจำ หรือมีปัญหาในการอ่าน บุตรหลาน หรือผู้ดูแล ควรเป็นผู้จัดยาให้ในแต่ละมื้อ
- จัดยาให้พร้อมทุกมื้อ เช่น เตรียมยาหลังอาหารไว้พร้อม เมื่อผู้สูงอายุทานข้าวเสร็จ ก็สามารถทานยาตามได้เลย
เพียงเท่านี้ก็ช่วยป้องกันปัญหาการลืมทานยา หรือทานยาไม่ถูกต้องของผู้สูงอายุได้แล้วนะคะ ซึ่งญาติหรือผู้ดูแลควรเข้ามามีบทบาทเป็นสำคัญ
ในวัยสูงอายุ แม้ว่าสุขภาพร่างกายจะเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆ แต่ผู้สูงอายุทุกท่าน ก็ยังปรา
เมื่อต้องเข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุแทบทุกคนมักรู้สึกว่าตนเองกำลังถอยหลังไปเ
โรคกระดูกพรุน เป็นอีกหนึ่งโรคที่เป็นปัญหาสำหรับผู้สูงอายุ เกิดจากการที่มวลกร
โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายก็จริง แต่อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดต่อจิตใจ
ผู้สูงอายุที่มีความกลุ้มใจกับปัญหาผมหลุดร่วง ผมบาง ผมหงอก ฟังทางนี้ค่ะ เพราะวันนี้เ