โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และสามารถตรวจพบได้ง่ายด้วยเครื่องวัดความดันโลหิต ซึ่งค่าในคนปกติทั่วไป จะมีค่าความดันไม่เกิน 140 มิลลิเมตรปรอท และความดันตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุ
แม้ว่าโรคความดันโลหิตสูงจะตรวจพบได้ง่าย แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็มักละเลย เนื่องจากไม่มีอาการของโรคที่เด่นชัด กว่าจะเริ่มมีอาการบ้าง เช่น ปวดศีรษะ ก็พบว่าเป็นมาสักระยะหนึ่งแล้ว
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง เกิดได้จากการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคไต เนื้องอกของต่อมหมวกไตบางชนิด โรคครรภ์เป็นพิษ การใช้ยาสเตียรอยด์ และโรคกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิด นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นได้จากภาวะอ้วน ความเครียด หรือผู้ที่มีภาวะทางอารมณ์แปรปรวนอีกด้วย
การปฏิบัติตนและดูแลตนเอง
- ดูแลน้ำหนักตัวให้เหมาะสมน้ำหนักตัวที่มากเกินเกณฑ์ ส่งผลต่อการสูบฉีดโลหิตโดยตรง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มาก
- ควบคุมปริมาณอาหาร และหมั่นออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- หากเป็นโรคเบาหวาน ควรลดปริมาณอาหารประเภทไขมัน และควบคุมโรคให้ดี เพราะอาการของโรคเมื่อกำเริบ มักทำให้ความดันโลหิตสูงตามไปด้วย
- ทานยา และปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- พยายามควบคุมอารมณ์ ไม่หงุดหงิดโมโหง่าย และทำจิตใจให้สบาย แจ่มใส
- ผู้ป่วยที่ทานยาขับปัสสาวะ ควรทานส้มหรือกล้วยเป็นประจำ เพื่อทดแทนโพแทสเซียมที่เสียไปในปัสสาวะ
- หากพบว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรืออยู่ในภาวะเสี่ยง ไม่ควรปล่อยให้หายเอง แต่ควรไปพบแพทย์ เพราะการทานยาเอง หรือไม่ได้รับการรักษา อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคความดันโลหิตสูง แม้จะตรวจพบง่าย และในระยะเริ่มต้นอาจไม่มีอาการที่น่าเป็นห่วง แต่คุณก็ไม่ควรละเลยเด็ดขาด เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องควบคุม และรักษาไปตลอดชีวิต ซึ่งอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน
โรคที่เมื่ออาการกำเริบแล้วอาจส่งผลถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต เชื่อว่าหลายๆ คนคงนึกถึ
ในวัยสูงอายุ ความสามารถในการมองเห็น การเดิน และการประคองตนเองจะไม่ดีเท่าที่ควร ทำ
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะทำงานได้ลดลง ประสิทธิภาพด้อยลง และส่งผ
โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบในผู้สูงอายุที่ป้องกันได้ โรคกระดูกพรุน
การฟื้นฟูสภาพ คือการกระทำที่ทำให้สมรรถภาพ หรือความสามารถทางกายต่างๆ ยังคงระดับที่ด
แม้ว่าการคันทวารหนักจะพบได้ในทุกวัย แต่ก็พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากความย