กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ รักษาได้ ด้วยกายบริหาร



ในผู้สูงอายุ มักมีปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่เสื่อมถอย และการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายที่ด้อยลงไปตามช่วงอายุ

ผู้สูงอายุหลายท่านอาจจะมีโรคประจำตัว หรือมีอาการเจ็บป่วยอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งบางอาการก็ไม่ได้ร้ายแรงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต หรือสร้างความเจ็บปวดทรมานให้กับร่างกาย แต่ก็สร้างความรำคาญใจ และส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้สูงอายุได้

และอาการที่เป็นเหล่านั้น หนึ่งในนั้นคือการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เช่น เมื่อปวดปัสสาวะ ก็จะไม่สามารถกลั้นนานได้ หรือแทบจะกลั้นไม่ได้เลย จึงทำให้ปัสสาวะเล็ดอยู่เป็นประจำ ส่งผลให้ไม่สามารถออกไปไหนที่เสี่ยงต่อการเข้าห้องน้ำไม่ทันได้ หรือแม้แต่อยู่ที่บ้านก็ตาม หลายท่านจึงต้องใส่ผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่เป็นประจำ

แม้จะดูเหมือนไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ก็เป็นเรื่องที่ควรแก้ไข เพราะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และสุขภาพจิตของผู้สูงอายุได้ ซึ่งการแก้ไข สามารถทำได้ด้วยการ “ขมิบ”

การขมิบช่องทวารเบา หรือช่องคลอดในผู้หญิง เป็นการออกกำลังกล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกรานซึ่งคอยควบคุมหูรูดของช่องทวารเบาและช่องคลอดให้แข็งแรง กระชับ ทำให้กลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้น และสามารถทำได้ทุกวัน ทุกเวลา และทุกสถานที่ โดยทำดังนี้

- ขมิบและค้างไว้ นับ 1-10 หรือนานเท่าที่จะทำได้ แล้วค่อยๆ คลายออกช้าๆ โดยนับ 1-10 เช่นเดียวกับตอนที่ขมิบ หากยังทำไม่ได้นานให้ค่อยๆ เพิ่มเวลาไปเรื่อยๆ จนสามารถทำได้ถึงนับ 10 หรือนานกว่านั้น

- หลังจากคลายการขมิบแล้ว ทิ้งช่วงประมาณ 5-10 วินาที จากนั้นจึงเริ่มทำเซตใหม่ ทำให้ได้ประมาณ 5-10 รอบเป็นอย่างน้อย

- ควรทำให้ได้อย่างน้อยวันละ 3 ช่วงเวลา คือ เช้า กลางวัน และเย็น หรืออาจบ่อยเท่าที่ต้องการ โดยแต่ละเวลาทำให้ได้ประมาณ 8-10 ครั้ง

- คุณสามารถทำไปได้จนตลอดชีวิต ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าสามารถกลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันภาวะมดลูกหย่อนได้อีกด้วย

การฝึกขมิบ ไม่มีข้อเสียใดๆ และยังมีข้อดีในการช่วยให้คุณรู้สึกกระชับ กลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้น หมดปัญหาปัสสาวะเล็ดได้เป็นอย่างดี และแม้จะไม่มีปัญหาก็สามารถทำได้เช่นกัน ดังนั้น อย่ารอให้เกิดปัญหาก่อนแล้วจึงแก้ไข แต่ควรกันไว้ก่อนแก้นะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

คุณมีอาการชาหรือไม่ อาจเสี่ยงเป็นโรคเส้นประสาท

หากคุณมีอาการชา หรือมีความรู้สึกแปลกไปจากเดิมบริเวณมือ แขน ขา และใบ

3 โรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย ในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ มักมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคไต โรคปอด เป็นต้น ซึ่งโรคเหล

9 ข้อควรปฏิบัติ ดูแลตนเอง เมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ในวัยสูงอายุ มีโรคต่างๆ มากมาย ที่มักจะเกิดขึ้นมา เนื่องจากการดำเนินชีวิตที่สะสมมาต

โรคทางสมอง คืออะไร และจะป้องกันได้อย่างไร

โรคทางสมอง เป็นโรคที่มีความร้ายแรงต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เป็นโรคที่สร้างความทุ

หน้ามืด วิงเวียน เป็นลม อาการของผู้สูงอายุ

อาการหน้ามืด วิงเวียน เกิดขึ้นได้เมื่อผู้สูงอายุปรับเปลี่ยน

อาการปวดต่างๆ ที่ควรรีบไปพบแพทย์

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ อาการปวดตามบริเวณต่างๆ มักเป็นอาการที่พบเห็นได้บ่อย เกิ