การดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว



ผู้สูงอายุ มักมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งอาการของโรคจะแสดงตามระยะของโรค และเมื่อมีปัจจัยเสี่ยง

ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ควรได้รับการดูแลจากบุตรหลานมากกว่าดูแลตนเองทั้งหมด เนื่องจากโรคที่เป็นอยู่ และความชรา อาจสร้างความจำกัดในการดูแลตนเองให้ดีได้

ข้อควรคำนึงถึงในการดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว มีดังนี้

การทานยา
เรื่องยา ซึ่งใช้บรรเทาและรักษาโรค เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ข้อคำนึงถึงในการทานยา มีดังนี้
- ทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ไม่ซื้อยาทานเองหากไม่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์
- ไม่ทานยา หรือใช้ยาเก่าที่นานมาแล้ว แม้ว่าจะเคยใช้มาก่อนก็ตาม
- หากมีอาการผิดปกติควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
นอกจากเรื่องการทานยาแล้ว ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ควรเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกต้องด้วย เพื่อเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น หรืออาการกำเริบขึ้นมา จะได้ดูแลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการดูแลเบื้องต้นอย่างถูกต้องสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยมาได้มากแล้ว

เรื่องอาหารการกิน
ควรใส่ใจอาหารที่ควรทานเพื่อเสริมสร้างร่างกาย และหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ควรทานต่อโรคนั้นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญต่อร่างกายด้วย คุณจึงควรรู้ว่าโรคที่เป็นอยู่ไม่ควรทานอาหารชนิดใด ควรลดอาหารประเภทใด และควรทานอาหารประเภทใดให้มากขึ้น รวมถึงเครื่องดื่ม และอาหารว่างด้วย

กายภาพบำบัด
โรคบางโรคต้องการการทำกายภาพบำบัด เพื่อความคล่องตัว หรือเพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ดีขึ้น แต่หากเป็นโรคที่ยังสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อยู่ ก็ควรที่จะออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหมั่นเคลื่อนไหวร่างกายให้ได้มากที่สุด เพื่อความคล่องตัว และยังช่วยป้องกันการสะสมของไขมันอันเป็นสาเหตุของโรคอ้วน และเบาหวานได้อีกด้วย

การดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไป และคุณก็สามารถทำได้ เพียงคำนึงถึง 4 ข้อที่ได้กล่าวไปแล้ว ก็ช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้แล้วนะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

คำแนะนำในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีประโยชน์ต่อทุกช่วงวัย แต่การออกกำลังกาย

การดื่มนมและการเสริมแคลเซียมในผู้สูงอายุ

ในวัยสูงอายุ กระดูกย่อมอ่อนแอ และพรุนได้ง่ายมาก โรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะในเพศหญิง ซึ่

วิธีการพัฒนาสมองของผู้สูงอายุ

ในวัยสูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความจำ และระบบประสาท ซึ่งมีผลต่อการได้ยิน และกา

วัยทอง มีสุขได้ ด้วยความคิด

คงไม่มีใครอยากที่จะก้าวเท้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ เพราะเป็นวัยที่ร่างกายเริ่มเสื่อมโท

ผู้สูงอายุเป็นโรคใด ที่ไม่ควรขับรถอย่างเด็ดขาด

สังคมที่วุ่นวายและเร่งรีบ แข่งขันกันในปัจจุบัน ทำให้ต่างคนต่างก็ต้องดูแลตนเองได้ ก

ปรับตัวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมืออาชีพ

ในช่วงชีวิตที่ผ่านมา ตั้งแต่เรายังเป็นเด็ก มาจนถึงวัยหนุ่มสาว เป็นวัยที่ร่างกายเจร