ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักมีโรคประจำตัว หรือเจ็บป่วยด้วยอาการต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง เมื่อถึงคราวที่ไม่สามารถทานอาหารเองได้ หรือไม่ได้สติ ย่อมต้องให้การช่วยเหลือด้วยการให้อาหารทางสายยาง
การให้อาหารทางสายยาง คือการให้อาหารเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารโดยผ่านสายยาง ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทานอาหารทางปากได้ แต่ระบบทางเดินอาหารยังคงสามารถย่อยและดูดซึมอาหารได้
ส่วนใหญ่การให้อาหารทางสายยาง จะให้วันละ 4-6 ครั้ง ตามมื้ออาหาร โดยแบ่งเป็นอาหาร 3-4 มื้อ และน้ำเปล่า หรือน้ำหวาน 1-2 มื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ
วิธีการให้อาหารทางสายยาง
- ทดสอบดูดสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหาร หากได้ แสดงว่าปลายสายอยู่ในกระเพาะอาหารแล้ว
- เมื่อพร้อมแล้ว ให้ล้างมือให้สะอาดอีกครั้ง และเตรียมอุปกรณ์ในการให้อาหารเหลว และ อาหารเหลวตามแผนการรักษา
- บอกให้ผู้ป่วยทราบและกั้นม่าน
- จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายศีรษะสูงหรือท่านั่ง ถ้าผู้ป่วยนอนหงายไม่ได้ให้นอนตะแคงขวาศีรษะสูงอย่างน้อง 30 องศาและสูงได้ถึง 45 หรือ 60 องศา
- เปิกจุกที่ปิดรูเปิดสายให้อาหารและเช็ดรูเปิดด้านนอกของสายให้อาหารด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก
- สวมปลายกระบอกให้อาหารเข้ากับรูเปิดของสายให้อาหารแน่น แล้วดูดว่ามีอาหารเหลวมื้อก่อนเหลือค้างอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่
- ถ้าดูดไม่ได้อาหารเหลว ให้ตรวจสอบเพื่อยืนยันว่าสายให้อาหารยังคงอยู่ในกระเพาะอาหาร
- ถ้าดูดได้อาหารมื้อก่อนเหลือมากกว่า 1/4 ให้เลื่อนเวลาอาหารเหลวมื้อนั้นออกไปอีก 1 ชั่วโมง และถ้าหลังจาก 1 ชั่วโมงไปแล้ว อาหารในกระเพาะยังไม่ลดลงให้รายงานแพทย์ทราบเพื่อวางแผนการรักษาต่อ
- หากไม่มีปัญหาให้พับสายให้อาหาร ปลดกระบอกให้อาหารออกจากสายให้อาหาร
- เช็ดรูเปิดและด้านนอกของสายให้อาหารอีกครั้งด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก หรือ สำลีแอลกอฮอล์ 70%
- ใช้จุกปิดรูเปิดสายให้อาหาร
- จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าตะแคงขวาศีรษะสูง 45 องศา หรือท่านอนหงายอีก 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
- บันทึกปริมาณอาหารเหลวและน้ำที่ผู้ป่วยได้รับปริมารอาหารที่เหลือค้าง (ถ้ามี) พร้อมกับสภาวะแทรกซ้อน
- เก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ไปทำความสะอาด
ผู้สูงอายุที่ต้องให้อาหารทางสายยางส่วนใหญ่ ซึ่งยังรู้สึกตัว อาจกลัวและกังวลในการให้อาหารทางสายยาง แต่ขั้นตอนที่มากมายเหล่านี้ เป็นเครื่องยืนยันอย่างดีว่าคุณจะปลอดภัย และได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด จึงไม่ควรกังวลกับการให้อาหารทางสายยาง
แม้ว่าผู้สูงอายุ จะเป็นวัยที่มีกิจกรรมน้อยลง และไม่ค่อยชอบเข้าสังคมเท่ากับวัยอื่นๆ แต่ต้องการแสวงหาคว
ในวัยสูงอายุ แม้ว่าสุขภาพร่างกายจะเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆ แต่ผู้สูงอายุทุกท่าน ก็ยังปรา
ผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวซึ่งต้องทานยาอยู่เป็นประจำ บางท่านต้องทานยามื้อละหลายเ
วันนี้ ThaiSenior มีคำถามที่อยากชวนทุกท่าน ร่วมคิดและค้นหาคำตอบไปด้วยกัน คำถามมีอยู่ว่า ช่วงอายุใดในชีวิต ที่
คงไม่มีใครอยากที่จะก้าวเท้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ เพราะเป็นวัยที่ร่างกายเริ่มเสื่อมโท
การที่ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร คงเป็นอาการปกติที่คุณสามารถพบเห็นได้ในญาติผู้ใหญ่ที่บ้านของคุณ แต่หากปล่อ