ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักเผชิญกับความชราอย่างยากลำบาก เพราะนอกจากสภาพร่างกายที่ถดถอยลงไปแล้ว ยังต้องสู้กับโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ด้วย
ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว จะอยู่กับอาการของโรคนั้นไปตามระยะของโรค จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งในแต่ละระยะ โดยเฉพาะระยะสุดท้ายของโรค บุตรหลานควรดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้สูงอายุไม่ต้องเจ็บปวดจากอาการของโรค และมีความสุขที่สุด
อาการในระยะสุดท้ายและการดูแล
- เปกินอาหารไม่ได้ หรือกินได้น้อยลงเรื่อยๆ สามารถแก้ปัญหาได้โดยการให้อาหารเหลว หรืออาหารทางสายยาง ช่วยให้สบายท้องขึ้น และท้องไม่อืดเหมือนการกินอาหารปกติ อีกทั้งยังขับถ่ายง่าย และควรให้น้ำและอาหารเมื่อจำเป็นเท่านั้น
- การขับถ่าย อาจมีมูกเลือดออกมาพร้อมกับอุจจาระ หรือปัสสาวะ ควรมีการจดบันทึกจำนวนครั้งของการขับถ่าย พร้อมสังเกตสิ่งเจือปน ผู้ดูแลไม่ต้องตกใจ แจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบ (กรณีอยู่ที่โรงพยาบาล) ที่สำคัญคือการรักษาความสะอาดหลังการขับถ่าย เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย ควรพลิกตัวผู้ป่วยบ่อยๆ เพื่อป้องกันแผลกดทับ
- มีอาการอ่อนเพลีย ควรให้ผู้ป่วยในระยะนี้ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ส่วนใหญ่มักจะนอนหลับในตอนกลางวัน แต่ตื่นในตอนกลางคืน ผู้ดูแลอาจต้องปรับตัวเรื่องการนอน หรือหาผู้ช่วยมาดูแลตอนกลางคืน
- ดื่มน้ำน้อยลงหรืออาจไม่ดื่มเลย ภาวะขาดน้ำในระยะนี้ไม่เป็นอันตราย แต่ยิ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวขึ้น ดังนั้น หากริมฝีปากแห้ง จมูกแห้ง หรือตาแห้ง ก็ใช้สำลีหรือผ้าชุบน้ำเช็ด หรือทาด้วยวาสลีนช่วยแทน
-อาจมีอาการร้องครวญคราง หรือมีหน้านิ่วคิ้วขมวด ซึ่งอาจไม่ใช่เกิดจากความเจ็บปวด แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสมอง เข้าสู่ภาวะกึ่งไม่มีสติสัมปชัญญะ แต่ถ้าเกิดจากการเจ็บปวด ควรให้ยาแก้ปวดในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เพราะจะส่งผลถึงสมองด้วย
- ไม่ค่อยรู้สึกตัว ญาติหรือผู้ดูแลควรพูดข้างๆ หูในสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยสบายใจ เพราะผู้ป่วยยังรับรู้และได้ยิน แต่ไม่สามารถตอบสนองได้ ทางโรงพยาบาลหลายแห่งได้ให้ผู้ป่วยและญาติประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น นิมนต์พระมารับการใส่บาตร ถวายสังฆทาน และให้ฟังพระเทศจากเทป เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสบายใจ เป็นการเสริมกำลังด้านจิตวิญญาณให้สุขสงบ
ในระยะสุดท้าย ผู้ป่วยมักนอนหลับตาตลอดเวลา และมีการตอบสนองในแต่ละส่วนน้อยลงเรื่อยๆ แม้จะเป็นในช่วงสุดท้าย ญาติก็ควรดูแลผู้สูงอายุของท่านเป็นอย่างดีตามปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้มีความสุขที่สุดในช่วงสุดท้าย
ผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น อาจก่อให้เกิดโรค หรือการสูญเ
ในวัยสูงอายุ เป็นที่ทราบกันดีว่า นอกจากโรคภัยต่างๆ ที่เข้ามาถามหาแล้
อาการเวียนศีรษะ เป็นอาการที่เกิดกับผู้สูงอายุได้บ่อยๆ แม้จะไม่ได้สร้างความเจ็บปวด แต่ก็ส่งผลต่อการดำเ
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุเพศชาย และสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายในการปัสสา
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะทำงานได้ลดลง ประสิทธิภาพด้อยลง และส่งผ
การจะเลือกฟูกที่นอนให้กับผู้สูงอายุนั้น ควรเป็นที่นอนที่เอื้อต่อการนอนหลับได้อย่า