ผู้สูงอายุ มักปวดหลังเป็นประจำ ทำให้จะลุกจะนั่งก็ลำบากจากอาการเจ็บปวดทรมาน ซึ่งอาการปวดหลังช่วงล่างบริเวณใกล้กับเอวนั้น เกิดจากการเสื่อมของกล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก และหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวด เจ็บ ชา กล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง และส่งผลถึงการทำงานของกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณนี้ต้องเคลื่อนไหวซ้ำๆ ตลอดเวลา
สาเหตุของการปวดหลังช่วงล่าง
- การทำงานมากเกินไปของกล้ามเนื้อหลัง
- โรคปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเสื่อม
- โรคกระดูกสันหลังยุบตัวจากกระดูกพรุน
- กระดูกสันหลังเคลื่อนจากการยกของหนัก และเล่นกีฬา
- กระดูก หรือเนื้อเยื่อหลังช่วงล่างติดเชื้อ
- กระดูกสันหลังช่วงล่างอักเสบ
- มะเร็งแพร่กระจายสู่กระดูกสันหลังช่วงล่าง
ปัจจัยเสี่ยง
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป และเกินกว่า 40 ขึ้นไป
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ขาดการออกกำลังกาย
- น้ำหนักตัวเกิน หรือโรคอ้วน
- โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบางโรคข้อเสื่อมโรคมะเร็งระยะที่ 4 ระยะแพร่กระจาย
- สูบบุหรี่
การดูแลตนเอง
- พักการใช้หลัง ระวังการนั่ง ยืน เดิน นอน การยกของ ก้ม เงย
- กินยาแก้ปวด
- พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่จะทำได้ ควบคุมน้ำหนักไม่ปล่อยให้อ้วน
- เลิกสูบบุหรี่
- ใส่เครื่องพยุงหลัง ซึ่งได้ผลในบางคน
- พบแพทย์เมื่อมีอาการปวดมาก
อาการปวดหลัง สามารถแก้ไขได้ แต่ทางที่ดี ควรป้องกันตั้งแต่แรก ด้วยการมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ยกของหนัก ไม่นั่งหลังงอ และทานอาหารเสริมแคลเซียม
เราอาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ที่ผู้สูงอายุจะมีปัญหาเรื่องการได้ยิน เพราะอายุที่มากข
ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และต้องอาศัยการระมัดระวัง เพราะอาจส่งผลต่อร่างกาย
ใครๆ ก็พูดว่า “อาการนอนไม่หลับ เป็นโรคของคนแก่” นั่นก็หมายความว่า เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ใครๆ ก็ส
เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ร่างกายคนเรามักเริ่มมีการเสื่อมโทรมของอวัยวะต่างๆ อันเป็นสาเหต
ผู้สูงอายุ มักมีอาการต่างๆ ในทางที่ไม่ดี หรือเจ็บป่วยได้บ่อย เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอย และการทำ
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักเผชิญกับความชราอย่างยากลำบาก เพราะนอกจากสภาพร่างกายที่ถดถอย