โรคกระดูกและข้อ ในผู้สูงอายุ



โรคกระดูกและข้อที่มักพบในผู้สูงอายุ คือ โรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเกาต์ และโรคกระดูกพรุนซึ่งโรคข้อเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก

โรคข้อเสื่อม
เกิดจากการเสื่อมสมรรถภาพของกระดูกผิวข้อ ซึ่งมักเกิดขึ้นตามธรรมชาติ อาการของโรคคือปวดข้อ เคลื่อนไหวได้น้อยลง และข้อมีความแข็งแรงลดลงจากการสึกกร่อนของข้อและอวัยวะรอบข้อ ทำให้ข้อผิดรูปร่าง

ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากความอ้วน อายุที่มากขึ้น กระดูกพรุน ข้อผิดรูปมาแต่กำเนิด การบาดเจ็บรุนแรงของข้อ อาชีพที่มีความเสี่ยง กรรมพันธุ์ โรคข้ออักเสบต่างๆ โรคเบาหวานเรื้อรัง การดื่มสุราเรื้อรัง และการกินยาสเตียรอยด์ซึ่งสามารถรักษาได้โดยการออกกำลังกาย และลดน้ำหนัก

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
เกิดจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อในอดีต พันธุกรรม และฮอร์โมนเพศหญิงในบางราย อาการของโรคคือ ข้อฝืดในตอนเช้า มีข้ออักเสบ อักเสบที่ข้อนิ้วมือ หรือข้อเดียวกันทั้งสองข้าง มีปุ่มก้อนเนื้อที่ผิวหนัง เป็นต้น

การรักษาต้องใช้ยาแก้ปวด แก้อักเสบ และยาควบคุมโรค อาจต้องใช้อุปกรณ์พยุงข้อหากข้อผิดรูป หรืออาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อ

โรคเกาต์
เกิดจากการตกผลึกของกรดยูริกในข้อต่างๆ ของร่างกาย ส่วนใหญ่พบในผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และอาจเกิดในผู้ที่ได้รับสารอาหารโปรตีนมากเกินไป

การรักษา จะให้ยาแก้อักเสบในระยะเฉียบพลัน หากมีกรดยูริกสูงมาก เมื่อให้ยาจนอาการทุเลาแล้ว จึงให้ยาลดกรดยูริก และให้งดเว้นการทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เครื่องในสัตว์ หน่อไม้ แตงกวา กุ้ง หอย ปลาหมึก ปลาอินทรี ปลาดุก ปลาซาร์ดีนกระป๋อง ยอดผัก ผักโขม เนื้อวัว ไก่ หมู ถั่วต่างๆ เป็นต้น

โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน คือโรคที่กระดูกมีเนื้อกระดูกลดลง ทำให้กระดูกเปราะและหักง่าย เกิดจากกรรมพันธุ์ ขาดแคลเซียม ขาดการออกกำลังกาย ฮอร์โมนเพศลดลง ใช้ยาสเตียรอยด์มากเกินไป และอายุที่เพิ่มมากขึ้น

การรักษา ควรทานแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ผักใบเขียว งาดำ เป็นต้น ได้รับแสงแดดอ่อนๆ อย่างน้อยวันละ 15 นาที ออกกำลังกายเสมอ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ การใช้ยาสเตียรอยด์ และควบคุมน้ำหนักตัว

โรคกระดูกและข้อ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และสร้างความเจ็บปวดทรมาน ดังนั้น ควรดูแลตนเองเสียแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยป้องกันโรคกระดูกและข้อเหล่านี้ได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุ เพื่อการดูแลอย่างถูกต้อง

ระบบทางเดินอาหาร มีผลต่อการย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย เมื่อถึงวัยสูงอายุ ระบบทางเดินอาหารจะทำงานได้ลดลง

ลดความดันโลหิต ด้วยยาไฮดราลาซีน

โรคความดันโลหิตสูง เป็นอีกหนึ่งโรคที่มักพบได้ในผู้สูงอายุเกิดเนื่

อาหารเป็นพิษในผู้สูงอายุ อาจเสี่ยงอันตรายได้

อาหารเป็นพิษ เกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย เกิดจากการกินอาหาร หรือเ

ปวดศีรษะ อาการอันตรายที่ต้องตรวจสอบ

นอกจากโรคประจำตัวแล้ว ผู้สูงอายุก็มักมีอาการเจ็บป่วยอยู่เรื่อยๆ ซึ่งอาจเป็นอาการต่าง

ระวัง อาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

เรื่องของสุขภาพจิต ใครคิดว่าไม่สำคัญ เพราะจิตใจนั้น เป็นสิ่งที่ออกมาจากภายใน แม้จะ

ดูแลสุขอนามัย ห่างไกลโรคระบบทางเดินปัสสาวะในผู้สูงอายุ

โรคระบบทางเดินปัสสาวะ หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะนั้น พบได้มากในผู้หญิง เน