อาหารเป็นพิษในผู้สูงอายุ อาจเสี่ยงอันตรายได้



อาหารเป็นพิษ เกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย เกิดจากการกินอาหาร หรือเครื่องดื่ม ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หรือสารพิษจากเชื้อโรค และสารต่างๆ

เมื่อเชื้อโรค หรือสารพิษเข้าสู่กระเพาะอาหารและลำไส้ จะมีกลไกทำให้เกิดอาการได้สองแบบ คือ
- แบบแรก เกิดการท้องเสียที่ไม่รุนแรง โดยเชื้อจะก่ออาการกับเยื่อเมือกบุลำไส้เล็กเท่านั้น ไม่รุกรานเข้าสู่ร่างกาย จึงถ่ายออกมาเป็นน้ำ ไม่เป็นมูกหรือเลือด และปวดท้องไม่มาก แต่จะทำให้ร่างกายขาดน้ำได้มาก
- แบบที่สอง เกิดการท้องเสียรุนแรง คือเชื้อทำลายเยื่อเมือกบุลำไส้เล็ก และผ่านเยื่อเมือกเข้าสู่กระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ทำให้ท้องเสียเป็นเลือด ปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ไข้สูง ปวดเมื่อยตัว และปวดข้อหากเป็นเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มบาดทะยัก อาจส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเป็นอัมพาต รวมถึงหยุดหายใจ และเสียชีวิตได้

การรักษาภาวะอาหารเป็นพิษ เป็นการประคับประคองตามอาการ เช่น ป้องกันภาวะขาดน้ำ และขาดสมดุลเกลือแร่ และอาจให้ยาแก้ปวด แก้คลื่นไส้อาเจียน ลดไข้ ร่วมด้วยตามอาการ

แม้ว่าโดยทั่วไปอาการอาหารเป็นพิษจะไม่รุนแรงมาก และหายได้ภายใน 2-3 วัน แต่หากได้รับเชื้อที่รุนแรง รวมไปถึงหากเกิดในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอย่างเด็ก และผู้สูงอายุก็อาจเสียชีวิตได้

การดูแลตนเอง
อย่างที่ได้บอกไปว่าอาการอาหารเป็นพิษ หากเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งการดูแลตนเองมีดังนี้
- หากปวดท้องและคลื่นไส้อาเจียน ไม่ควรทานอาหารหรือดื่มน้ำเข้าไป เพราะอาการจะรุนแรงขึ้น
- ไม่ควรทานยาหยุดถ่ายท้อง เพราะการท้องเสียจะช่วยขับเชื้อและสารพิษออกจากร่างกาย
- จิบน้ำ อมน้ำแข็งสะอาด หรือน้ำเกลือแร่บ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
- เมื่ออาการต่างๆ บรรเทาลง ควรเริ่มทานอาหารน้ำ รสจืด ครั้งละน้อยๆ ก่อน และคอยสังเกตอาการ
- ดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละอย่างน้อย 8-10 แก้ว หากแพทย์ไม่ได้สั่งจำกัดน้ำ
- พักผ่อนให้มากๆ และรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
- หากเกิดอาการรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ทันที
- งดทานเห็ดและอาหารทะเลไปก่อน เพราะอาจเกิดสารพิษที่รุนแรงได้

ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่ภูมิคุ้มกันต่ำ และอาจเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ง่าย ทางที่ดีต้องระวังเรื่องอาหารการกินให้มากเป็นพิเศษด้วยนะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 โรคภัย ในหน้าหนาวสำหรับผู้สูงอายุ

ในหน้าหนาว หรือวันที่มีอากาศหนาว รวมถึงการนอน หรืออาศัยอยู่ในที่ที่มีความชื้นและอากา

แก้ปัญหาผิวแห้งกร้านและคันในผู้สูงอายุ

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะสูญเสียความชุมชื้นได้ง่าย ทำให้ผิวแห้ง

6 โรคร้าย ภัยเงียบ ที่ต้องเฝ้าระวังก่อนจะเป็น

ในวัยสูงอายุ เรามักพบว่า มีผู้สูงอายุจำนวนมาก ที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง และมีโรค

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มีความสุข

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักเผชิญกับความชราอย่างยากลำบาก เพราะนอกจากสภาพร่างกายที่ถดถอย

ระยะต่างๆ ของโรคอัลไซเมอร์และอาการของโรค

โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ทำให้ความจำในส่วนต่างๆ ถดถอยไป และอาจสูญห

7 สารอาหารสำคัญ สำหรับคนสูงวัย

สำหรับผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ต้องใส่ใจในเรื่องโภชนาการเป็นสำคัญ นอกจากจะทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกา