เบาหวานขึ้นตา ป้องกันและรักษาอย่างไร

โรคเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความผิดปกติได้กับเนื้อเยื่อและอวัยวะทุกๆ เนื้อเยื่อ และหากเกิดขึ้นกับดวงตา อาจเป็นสาเหตุให้ตาบอดถาวรได้ เราเรียกว่า เบาหวานขึ้นตา หรือ เบาหวานกินตา



โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม รวมถึงการดำเนินชีวิตในปัจจุบันนี้ ทั้งการทานแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป และขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม โรคเบาหวานหากเกิดขึ้นแล้ว แม้จะไม่ส่งผลให้เสียชีวิตโดยตรง แต่ก็ทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ และไต เป็นต้น ทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน

หากเป็นเบาหวาน ควรตรวจตาเมื่อใด
ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน ควรตรวจตาทุกคน แม้ว่าจะยังมองเห็นเป็นปกติก็ตาม โดยมีเกณฑ์ดังนี้
- ผู้ที่เริ่มเป็นเบาหวานเมื่อมีอายุ 0-30 ปี ควรตรวจตาหลังเป็น 5 ปี และหลังจากนั้นควรตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง
- หากเป็นตอนอายุ 31 ปีขึ้นไป ควรตรวจทันทีที่พบโรค และตรวจต่อเนื่องอย่างน้อยปีละครั้ง
- ผู้ที่เป็นเบาหวานและตั้งครรภ์ ควรตรวจทันทีที่ตั้งครรภ์หรือภายใน 3 เดือนแรก และมาตรวจตามที่แพทย์นัด

อาการของเบาหวานขึ้นตา
1. ในระยะแรกอาจไม่มีอาการใด ทำให้ผู้ป่วยละเลยการทำตามคำแนะนำของแพทย์
2. ตามัวลงเล็กน้อย และมัวลงอย่างช้าๆ ทำให้ผู้ป่วยบางคนอาจเข้าใจว่าเป็นอาการตามัวตามอายุ
3. เริ่มมองเห็นภาพบิดเบี้ยว และก่อให้เกิดโรคจอตามีการบวมน้ำ หรือมีการตายของเซลล์จอตาเป็นหย่อมๆ
4. มีลานสายตาผิดปกติ อาจเห็นมืดไปด้านใดด้านหนึ่ง เพราะเซลล์รับรู้การเห็นบริเวณนั้นขาดเลือด
5. ตามืดลงอย่างฉับพลัน มักเกิดในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในน้ำวุ้นตา

การรักษาและดูแลตนเอง
- เมื่อเพิ่งเริ่มเป็นโรค ควรควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด
- หากโรคที่จอตาเป็นมากขึ้น ควรรักษาด้วยเลเซอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม ซึ่งอาจต้องทำหลายครั้ง
- ถ้ามีเลือดออกในน้ำวุ้นตา หรือมีพังผืดดึงจอตาหลุดลอก ควรรีบทำการผ่าตัดน้ำวุ้นตา ซึ่งมักเป็นขั้นที่อันตรายและทำการรักษาได้ยากแล้ว
- รักษาระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
- ทานยาเบาหวานอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามแพทย์สั่ง

โรคเบาหวาน สามารถทำลายเนื้อเยื่ออวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกาย และหากทำลายจอตา ก็จะส่งผลให้ตาบอดถาวรได้ ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตย่ำแย่ลงมาก ดังนั้น คุณจึงควรป้องกันตั้งแต่ต้นเหตุ นั่นคือการรักษาตนเองให้ห่างไกลโรคเบาหวาน


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไต ป้องกันได้ ไม่ทานเค็ม

โรคไต เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มักมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด หรือสีน้ำล้างเนื้

ยา...เรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย สำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมถอยลองมากอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่า

3 อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังผิดปกติ

โรคภัย หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้ง่ายมากๆ เนื่องจากภ

กระดูกสันหลังเสื่อม อาจเสี่ยงต่อการพิการได้

ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับบรรดาข้อกระดูก

ผู้สูงอายุที่อ่อนแรง ดูแลตนเองอย่างไร

สุขภาพร่างกายของคนเราจะดีได้นั้น มีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่างหลักๆ คือ ระบบร่างกายที่ทำง

การดูแลตนเองสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูง

โรคไขมันในเลือดสูงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ หากเป็นแล้ว ก็ส่งผลต่อคุณภาพของ