อาการปวดศีรษะรุนแรง บั่นทอนจิตใจผู้สูงอายุ



เชื่อว่าทุกคนคงเคยผ่านการมีอาการปวดศีรษะมาก่อน เพราะอาการปวดศีรษะ มักเป็นอาการร่วมของโรคต่างๆ ด้วย แต่หากปวดศีรษะมานานหลายปี โดยเป็นๆ หายๆ อยู่เป็นประจำ หรือปวดทุกวัน คงกลัวว่าตนเองจะเป็นโรคมะเร็งสมองหรือไม่ จึงควรปรึกษาแพทย์

สัญญาณเตือน
สัญญาณอันตรายของภาวะปวดศีรษะรุนแรง มีดังนี้
- ปวดรุนแรงขึ้นมาทันทีทันใด
- มีไข้ และมีอาการคอแข็งร่วมด้วย
- มีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่น แขนขาอ่อนแรง สับสน บุคลิกภาพเปลี่ยนไป เป็นต้น
- ปวดศีรษะในผู้ที่เป็นมะเร็ง ตับวาย ไตวาย ติดเชื้อเอช ไอ วี หรือทานยาละลายลิ่มเลือด
- ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด
- ปวดเป็นครั้งแรกในผู้สูงอายุ ซึ่งอาจมาจากการเป็นโรคร้าย เช่น เนื้องอกสมอง เลือดออกในสมอง เป็นต้น

ปวดศีรษะเรื้อรัง
ผู้ที่เสี่ยงจะมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง คือ ปวดเป็นประจำ เช่น ปวดไมเกรน ปวดจากความเครียด และการใช้ยาแก้ปวดที่ไม่เหมาะสม ซึ่งควรไปพบแพทย์

อาการข้างเคียงของภาวะนี้ หากไม่รับการรักษา จะทรมานจากอาการปวดศีรษะมากขึ้น และอาจเกิดผลข้างเคียงจากยาแก้ปวดได้เช่นกัน คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตวาย เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีอาการทางจิต เช่น ซึมเศร้า ติดยาแก้ปวด เป็นต้น

การดูแลตนเอง
- ดูแลตนเองเป็นอย่างดี และปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- เลิกใช้ยาแก้ปวดเดิมอย่างเด็ดขาด และทานยาตามแพทย์สั่ง
- สังเกตและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้ปวดศีรษะ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
- พบแพทย์ตามนัด และเมื่อมีอาการผิดสังเกต

อาการปวดศีรษะ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุย่ำแย่ลงไปมาก และอาจส่งผลต่อสุขภาพจิต เนื่องจากไม่สามารถทำอะไรได้เลย นอกจากทรมาน ดังนั้น หากมีอาการต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ควรรีบพบแพทย์ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง

สารอนุมูลอิสระ เป็นสาเหตุหลักของการทำลายดีเอ็นเอของเซลล์ เมื่อเกิดปฏิ

อาการเพ้อ และโรคสมองเสื่อม

บุตรหลานที่มีผู้สูงอายุในบ้าน มักเคยพบเห็นอาการแปลกๆ ของผู้สูงอายุ ท

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ อาจเกิดจากโรคที่แฝงอยู่

การนอนหลับ เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด และช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น มีกำลังจะทำสิ่งต่างๆ ใ

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มีความสุข

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักเผชิญกับความชราอย่างยากลำบาก เพราะนอกจากสภาพร่างกายที่ถดถอย

โรคประจำตัวต่างๆ กับการออกกำลังกาย

เป็นที่ทราบกันดีว่า แม้จะอยู่ในช่วงวัยสูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว ก็ควรออกกำลังกายอย

ลดความดันโลหิต ด้วยยาไฮดราลาซีน

โรคความดันโลหิตสูง เป็นอีกหนึ่งโรคที่มักพบได้ในผู้สูงอายุเกิดเนื่