ผู้สูงอายุ มักมีปัญหาต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิต อันเนื่องมาจากสภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง และอวัยวะต่างๆ ที่ใช้งานได้น้อยลง เช่น ตา หู ขา กล้ามเนื้อต่างๆ เป็นต้น ส่งผลให้มีปัญหาในการเคลื่อนไหวร่างกาย การมองเห็น รวมไปถึงการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นและมักเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มหรือหกล้มได้ง่าย
ปัจจัยในการหกล้มของผู้สูงอายุ
อุบัติเหตุในบ้านที่ผู้สูงอายุมักประสบ คือการลื่นล้ม หกล้ม ซึ่งการลื่นล้มมีปัจจัยมาจากสิ่งดังต่อไปนี้
- การเสื่อมถอยของสมอง
การเสื่อมถอยของสมองส่งผลให้เกิดการวิงเวียน ทำให้ความสามารถในการทรงตัวไม่ดี จึงอาจก่อให้เกิดการเสียการทรงตัวและล้มได้ง่าย ในบางรายอาจหน้ามืดบ่อยครั้ง
- กล้ามเนื้อ กระดูก และข้ออ่อนแอ
เมื่อกล้ามเนื้อ กระดูก และข้ออ่อนแอลง ย่อมส่งผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว เนื่องจากข้อ และกล้ามเนื้อรับแรงน้ำหนักได้ไม่ดี
- การมองเห็นที่ลดลง
ปัญหาสายตา เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของผู้สูงอายุ วิสัยทัศน์ที่ย่ำแย่ทำให้มองเห็นทางหรือสิ่งของได้ไม่ชัด ทำให้นำไปสู่การลื่นล้มได้ง่าย
การป้องกันการลื่นล้ม หกล้ม
- จัดบ้านให้ปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ ไม่วางของระเกะระกะ
- ไม่ควรให้นอนกับพื้นเพราะจะลุกขึ้นได้ยาก
- มีที่ยึดเหนี่ยว หรือที่จับตลอดทางเดินในบ้าน
- พื้นห้องน้ำต้องไม่ลื่น และจัดห้องพักไว้ใกล้ห้องน้ำ
- หลีกเลี่ยงการใช้บันได การวางพรมเช็ดเท้า
- มีแสงสว่างเพียงพอตามทางเดินที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
- เลือกรองเท้าที่กระชับ มีสายรัด นุ่มสบาย ส้นเตี้ย สะดวกต่อการใส่และถอด
- หลีกเลี่ยงการให้ผู้สูงอายุใช้อุปกรณ์ที่ไม่ปลอดภัย เช่น เตาแก๊ส หรือจุดธูปเทียนไหว้พระด้วยตนเอง
การลื่นล้มอาจทำให้เกิดกระดูกหัก หรือเป็นอัมพาต หรืออาจอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น บุตรหลานควรเอาใจใส่ดูแลเรื่องการจัดบ้าน และความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ และอำนวยความสะดวก ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความปลอดภัยในการชีวิตมากขึ้น
แม้ผู้สูงอายุจะอยู่ในช่วงวัยที่ต้องการการดูแลจากลูกหลาน แต่ผู้สูงอายุหลายท่านก็ยังชอบที่จะพึ่งพาตนเ
ผู้สูงอายุ แม้จะไม่แข็งแรงเท่ากับช่วงวัยอื่น และมีปัญหาสุขภาพ แต่จะให้อยู่เฉยๆ ไม่
การแต่งกาย เป็นแฟชั่นที่เราสัมผัสมาตลอดชีวิต แม้ว่าการแต่งกายจะเป็นความจำเป็นต่อก
เมื่อเป็นผู้สูงอายุ อะไรก็ดูจะเสื่อมถอยลงไปเสียหมด ทั้งรูปร่างหน้าตา สุขภาพ และการ
การดูแลผู้สูงอายุ ต้องอาศัยความรัก และความเข้าใจเป็นพื้นฐาน อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่ดีสำห
โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายก็จริง แต่อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดต่อจิตใจ