ระยะต่างๆ ของโรคอัลไซเมอร์และอาการของโรค



โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ทำให้ความจำในส่วนต่างๆ ถดถอยไป และอาจสูญหายไปได้ เนื่องจากสมองที่เสื่อมถอยลง อัลไซเมอร์ แม้เป็นโรคที่ไม่สร้างความเจ็บปวดทางกายให้กับผู้สูงอายุ แต่ก็สร้างความเจ็บปวดทางใจ และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยตรง จึงควรเรียนรู้จักอาการของโรคและระยะต่างๆ เพื่อให้รู้จักรับมือได้อย่างถูกวิธี

อาการของโรคอัลไซเมอร์จะค่อยเป็นค่อยไป และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งอาการของระยะต่างๆ มีดังนี้

ระยะก่อนสมองเสื่อม
ในระยะนี้ ผู้ป่วยจะมีความบกพร่องทางการเรียนรู้เล็กน้อย แต่ยังคงสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ สามารถคิดตัดสินใจได้ ยกเว้นเรื่องที่มีความซับซ้อน หรือการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ การทดสอบสมองของผู้ป่วยระยะนี้มักไม่พบความผิดปกติ แต่หากตรวจสมองจะพบว่าสมองบางส่วนมีการลีบฝ่อแล้ว

สมองเสื่อมระยะแรก
ในระยะนี้ ผู้ป่วยจะสูญเสียความจำในระยะสั้น ความจำใหม่ หรือความจำที่เพิ่งเรียนรู้มา เช่น ลืมว่าทำอะไรมา ลืมว่าเก็บของไว้ที่ใด หรือชอบพูดซ้ำๆ ถามซ้ำๆ ในเรื่องเดิม เป็นต้น แต่ความจำในระยะยาวที่เป็นเหตุการณ์หรือเรื่องราวเฉพาะตัวยังคงจำได้ปกติ เช่น การศึกษา การใช้ช้อนส้อม และการรู้กฎจราจร เป็นต้น

ระยะแรกของการเป็นโรคสมองเสื่อมนี้ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหงุดหงิดได้ง่าย เนื่องจากจำเรื่องที่ควรจำได้ไม่ได้ เช่น อาจลืมทางกลับบ้าน ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ พูดหรือเขียนหนังสือได้น้อยลง เป็นต้น ทำให้เกิดการวิตกกังวลได้

สมองเสื่อมระยะปานกลาง
ในระยะนี้ จะมีการสูญเสียความทรงจำทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เช่น จำชื่อและหน้าตาของคนในครอบครัวหรือคนรู้จักไม่ได้ นึกชื่อเรียกของสิ่งที่มองเห็นไม่ออก ไม่สามารถคิดได้ว่าชุดใดควรใส่เวลาใด เป็นต้น ผู้ป่วยในระยะนี้จึงมีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

ระยะสมองเสื่อมในระยะปานกลางนี้ ทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นสับสน หงุดหงิด และอารมณ์แปรปรวนง่ายมาก บางท่านแสดงออกอย่างก้าวร้าว หลงผิด และอาจเห็นภาพหลอน บุตรหลานจึงควรดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจเกิดพฤติกรรมที่เป็นอันตรายได้ เช่น ถอดเสื้อผ้าในที่สาธารณะหรือกระโดดลงน้ำเนื่องจากร้อน เป็นต้น

สมองเสื่อมระยะสุดท้าย
ผู้ที่เป็นสมองเสื่อมในระยะสุดท้ายจะสูญเสียความจำในระยะสั้น ระยะยาว ความรู้ทั่วไป รวมถึงความจำของร่างกายที่เรียนรู้มาว่าสิ่งใดต้องทำอย่างไร เช่น ช้อนส้อมไว้ทานข้าว เป็นต้น

ระยะนี้ เป็นระยะที่ต้องมีคนดูแลอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน เพราะผู้ป่วยจะได้แค่นอนนิ่งๆ อยู่บนเตียง ไม่สามารถทำสิ่งใดได้เอง แม้กระทั่งการเดิน ร่างกายจึงขาดภาวะสมดุลในร่างกายไปโดยปริยายทำให้เสียชีวิตในที่สุด

โรคอัลไซเมอร์ เป็นฝันร้ายของผู้สูงอายุ ที่แม้จะป้องกันไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็สามารถป้องกันและบรรเทาได้ด้วยการฝึกใช้สมองอยู่เสมอๆ ทานอาหารที่มีประโยชน์ เสริมสร้างร่างกายและสมอง รวมไปถึงออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะสามารถลดปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจสุขภาพด้วยตนเองในแต่ละวัน

ในวัยสูงอายุ เป็นวัยที่มักจะคิดมาก และมีความกังวลใจในทุกเรื่อง นั่นเพราะสุขภาพร่างกา

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเกาต์

โรคเกาต์ เป็นโรคอันดับต้นๆ ที่พบได้ในผู้สูงอายุ เกิดจากการใช้และขับถ่ายสารพวกพิวรี

ระวังภัย !!! การหกล้มในผู้สูงอายุ อันตรายใกล้ตัว

การหกล้ม เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ แม้จะไม่อันตรายถึงชี

โรคผิวหนัง อาการคัน และผื่น กับวัยของผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ผิวหนังจะเริ่มเหี่ยวลง และอาจมีอาการคันมาก มีผื่นขึ

ดื่ม ดื่ม ดื่ม เรามาดื่มนมกันเถอะ

เมื่อถึงวัยที่อายุเพิ่มมากขึ้น การดูแลตนเองเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากการใส่ใจในเรื่องของโภชนาก

อาการสูญเสียความทรงจำ อาการร้ายๆ ที่ญาติไม่ควรนิ่งนอนใจ

แม้ว่าผู้สูงอายุในครอบครัวของคุณจะผ่านช่วงวัยหนุ่มสาวมาอย่างไร หรือแข็งแรงมากแค่