อาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ



ผู้สูงอายุ ย่อมมีสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยไปตามกาลเวลาและอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เจ็บป่วยและมีปัญหาสุขภาพ ซึ่งต้องเอาใจใส่ดูแล วันนี้เรามาดูว่าอาการใดบ้างที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ดูแลควรใส่ใจ เข้าใจ และดูแลอย่างใกล้ชิด

- กระดูกหักง่าย เนื่องจากกระดูกเสื่อม บาง และพรุน โดยเฉพาะสะโพก ต้นขา ข้อมือ และกระดูกสันหลังจึงควรให้ผู้สูงอายุทานปลาตัวเล็ก และดื่มนม
- หลงลืมบ่อย เนื่องจากเซลล์สมองลดลง และเซลล์ตาย จึงควรให้มีกิจกรรมทำ และไม่แยกตัวอยู่คนเดียว
- สายตาไม่ดี เกิดจากการที่เลนส์ตาแข็งตัว ยืดหยุ่นไม่ดี ทำให้เห็นภาพไม่ชัด
- หูตึง เกิดจากประสารทหูเสื่อม ซึ่งควรพบแพทย์ และหากเป็นมาก อาจต้องใช้เครื่องช่วยฟังช่วย เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- ฟันไม่ดี ควรให้ทานอาหารอ่อน และอาจต้องทานวิตามินเสริม เนื่องจากอาจเกิดภาวะขาดอาหารได้
- หัวใจและหลอดเลือดเสื่อม ทำให้หัวใจทำงานหนัก เหนื่อยง่าย จึงควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยให้อ้วน และหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ กะทิ อาหารรสหวาน และหันมาทานข้าวซ้อมมือ ปลา ถั่วต่างๆ ผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง รวมถึงดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
- ปัญหาด้านอารมณ์ ผู้สูงอายุจะมีความโกรธ เกลียด กังวล และหงุดหงิดง่าย ซึ่งในขณะที่มีสภาวะอารมณ์ดังกล่าว ต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนออกมา ทำให้มีอาการใจสั่น น้ำตาลสูงขึ้น และทำให้เป็นโรคกระเพาะลำไส้ได้ หรือที่เรารู้จักกันว่า เครียดลงกระเพาะ ซึ่งการแก้ไข ผู้ดูแลควรให้ความรัก ความเข้าใจ เคารพนับถือ และแสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุมีความสำคัญต่อครอบครัวมากเพียงใด จะทำให้สภาวะทางอารมณ์ของผู้สูงอายุคงที่ขึ้นได้
- หูรูดเสื่อม ท่อปัสสาวะเสื่อม ซึ่งอาจต้องพบแพทย์ และรับการรักษาต่อไป
- เป็นลมบ่อย ควรนอนหมอนสูงเล็กน้อย และค่อยๆ ลุก ให้ร่างกายได้ปรับตัว นอกจากนี้การออกกำลังกายก็ช่วยได้เช่นกัน
- เรอบ่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ควรงดอาหารที่มีแก๊ส และย่อยยาก
- ท้องผูก ควรทานอาหารที่มีกากใยสูง ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย และดื่มน้ำสะอาดมากๆ
- อาจเป็นเบาหวาน ซึ่งต้องควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารหวาน และทำจิตใจให้ผ่องใส

อาการเหล่านี้ สืบเนื่องมาจากการใช้ชีวิตมาตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งหากดูแลตนเองเป็นอย่างดีมาตลอด อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ยาก แต่เวลาก็ไม่สามารถย้อนไปแก้ไขได้ การดูแลตนเองอย่างดี ณ ปัจจุบัน จึงเป็นอีกหนึ่งทางป้องกันไม่ให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้น


บทความที่เกี่ยวข้อง

การออกกำลังกายกับผู้สูงอายุ

แม้จะอยู่ในวัยสูงอายุ ก็มีความจำเป็นที่ต้องออกกำลังกายเช่นกัน เพ

วัยทอง มีสุขได้ ด้วยความคิด

คงไม่มีใครอยากที่จะก้าวเท้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ เพราะเป็นวัยที่ร่างกายเริ่มเสื่อมโท

สิ่งที่ผู้สูงอายุ มักเข้าใจผิด ในการใช้ชีวิต

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ หรือมีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป โดยเ

เตรียมความพร้อมเผชิญโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน เป็นอีกหนึ่งโรคที่เป็นปัญหาสำหรับผู้สูงอายุ เกิดจากการที่มวลกร

ผู้สูงอายุกับระบบทางเดินอาหาร

สำหรับวัยสูงอายุนั้น ระบบร่างกายจะเสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช

หลักพื้นฐานการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่พึงกระทำ

ผู้สูงอายุนอกจากมีความต้องการการดูแลจากครอบครัวและสังคมแล้ว ผู้สูงอายุเองควรรู้