โรคกระดูกพรุน เป็นอีกหนึ่งโรคที่เป็นปัญหาสำหรับผู้สูงอายุ เกิดจากการที่มวลกระดูกลดลงต่ำจนเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้กระดูกหักได้ และเป็นโรคที่พบได้มากในผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชาย
ปัจจัยการเกิดกระดูกพรุน กระดูกบาง
แม้ว่ากลไกการเกิดกระดูกพรุนจะยังไม่ทราบแน่นอน แต่ในเบื้องต้นพบว่าเกิดจากการเสียสมดุลระหว่างเซลล์สร้างกระดูก และเซลล์ดูดซึมทำลายกระดูก ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้
- อายุที่มากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ภาวะขาดฮอร์โมนเพศ โดยเฉพาะเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน
- ภาวะขาดอาหารสำหรับการสร้างกระดูกในผู้สูงอายุ
- ขาดการออกกำลังกาย
- พันธุกรรม
- เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนผิดปกติ เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน หรือเนื้องอกต่อมใต้สมอง
- การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
อาการและผลข้างเคียง
ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน กระดูกจะหักได้ง่ายที่ปลายกระดูกแขน และเกิดการยุบตัวของกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการปวดหลังเรื้อรัง ส่วนผู้สูงอายุที่กระดูกพรุน มักเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหัก
การดูแลตนเอง
- ทานวิตามิน เกลือแร่ ยาและอาหารเสริมตามคำแนะนำของแพทย์
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่พอเหมาะ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ เช่น การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
- ตรวจสุขภาพเมื่อถึงวัยที่เหมาะสม
แม้ว่าโรคกระดูกพรุน จะเกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ แต่ก็สามารถป้องกันได้โดยการหมั่นดูแลตนเองเป็นอย่างดีเสียแต่เนิ่นๆ และแม้ว่าเป็นแล้ว การเอาใจใส่ตนเองให้มากขึ้น และลดปัจจัยเสี่ยง ก็ช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้เช่นกัน
เรื่องของการขับถ่าย เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ลูกหลานควรให้ความใส่ใจและจัดเตรียมความพร้อมให้กับผู้สูงอาย
ถ้าผู้สูงอายุของคุณ กำลังรู้สึกขาดกำลังใจ น้อยใจ รู้สึกไม่เป็นที่ต้องการของใครสักค
การที่ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร คงเป็นอาการปกติที่คุณสามารถพบเห็นได้ในญาติผู้ใหญ่ที่บ้านของคุณ แต่หากปล่อ
อันตรายจากควันธูป ภัยเงียบที่ผู้สูงอายุต้องระวังเพื่อสุขภาพที่ดี ควันธูปเป็นสิ่
ในสังคมที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางบุคลิกภาพ บุคคลที่มีลักษณะเป็น Introvert หรือคนที่ชอบใช้เวลาอยู่คนเดียวแ
วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน เป็นวัยที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนในช่วงอ