การใช้ยาหยอดหูกับผู้สูงอายุ



ยาหยอดหู เป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในช่องหู โดยรักษาอาการอักเสบภายในหูชั้นนอก และหูชั้นกลาง และรักษาการอุดตันของขี้หู

ประเภทของยาหยอดหู
ยาหยอดหูมี 2 รูปแบบ คือ ยาสารละลายชนิดหยอดหู และยาน้ำแขวนตะกอนชนิดหยอดหู ซึ่งมี 6 ประเภท ดังนี้
1. ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือยาปฏิชีวนะ
2. ยาต้านเชื้อรา
3. สารละลายที่มีฤทธิ์เป็นกรด
4. ยาชาเฉพาะที่
5. ยาต้านอักเสบ
6. ยาละลายขี้หู
นอกจากนี้ยังห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยาหยอดหูนั้นๆ หรืออยู่ในกลุ่มยาเดียวกัน และห้ามใช้ยาละลายขี้หูในผู้ที่แก้วหูทะลุ หรือหูอักเสบ

การใช้ยาหยอดหูในผู้สูงอายุ
การใช้ยาหยอดหูในผู้สูงอายุ สามารถใช้ได้ และส่วนมากใช้รักษาอาการขี้หูอุดตัน ซึ่งรบกวนการได้ยินเสียง จึงต้องใช้ยาละลายขี้หู ทำให้ขี้หูอ่อนตัวลง โดยการหยอดยาทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที หลังจากนั้น 3-5 วันควรไปพบแพทย์ เพื่อล้างขี้หูออกอย่างถูกวิธี

คำแนะนำการใช้ยาหยอดหู
- ควรทำความสะอาดหูก่อนหยอดยา โดยใช้ไม้พันสำลีเช็ดสิ่งสกปรกหรือหนองออกหรือใช้วิธีดูดออก โดยแพทย์เท่านั้น
- นอนตะแคงให้หูข้างที่จะหยอดยาอยู่ด้านบน ดึงใบหูไปด้านหลังและดึงขึ้นข้างบน เพื่อให้ยาเข้าไปในช่องหูได้ดี
- หยอดยาเข้าไปในหูตามที่แพทย์กำหนด ระวังอย่าเอาหลอดหยดสอดเข้าไปในรูหู
- นอนตะแคงอยู่ในท่าเดิมประมาณ 3 - 5 นาที อาจเอาสำลีสะอาดใส่ไว้ในรูหูเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ยาไหลออกมา
- ถ้าหูชั้นนอกบวมมาก อาจใช้สำลีสอดเข้าไปในรูหูแล้วหยดยาผ่านสำลีแทน เพื่อให้ยาถูกดูดซึมเข้าช่องหูได้ดียิ่งขึ้น โดยเปลี่ยนสำลีทุกวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการและทำความสะอาดช่องหูทุกๆ 2 - 5 วันหรือตามแพทย์แนะนำจนกว่าหูชั้นนอกจะหายบวม
- ถ้าเป็นยาหยอดหูชนิดยาน้ำแขวนตะกอน ให้เขย่าขวดก่อนใช้ยา
- หากเก็บยาหยอดหูไว้ในตู้เย็น ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งและก่อนใช้ยาควรใช้มือกำขวดยาไว้สักครู่ เพื่อปรับอุณหภูมิของยาให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิร่างกาย เนื่องจากถ้าหยอดยาที่เย็นเกินไปในช่องหูอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนได้

อย่างไรก็ดี ผู้สูงอายุมีสายตาที่ไม่ดี และอาจเข้าใจการใช้งานที่ผิดไป จึงควรมีผู้ดูแลในการหยอดหู รวมถึงอธิบายการใช้งานให้กับผู้สูงอายุด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง

การออกกำลังกายกับผู้สูงอายุ

แม้จะอยู่ในวัยสูงอายุ ก็มีความจำเป็นที่ต้องออกกำลังกายเช่นกัน เพ

5 ปัจจัยเสี่ยง ต่อการเป็นโรคหัวใจ

ผู้สูงอายุจำนวนมาก เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ มักพบว่าตนเองมีโรคประจำตัวต่างๆ มาด้

ชวนผู้สูงอายุแต่งตัวกันเถอะ

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้สูงอายุในวัยใด ตั้งแต่อายุ 45 ปีเป็นต้นไป หรือจะอายุมากแล้วก็ตาม การแต่งกาย ก็ยังเป็นส

ทำอย่างไร เมื่อผู้สูงอายุท้องเสีย

ในหน้าร้อน อาหารจะบูดเน่าได้ง่าย และมีแมลงวันชุม อาหารไม่สะอาด จึงเป็

ปัญหาระหว่างผู้สูงอายุกับลูกหลาน

ความแตกต่างระหว่างวัย ส่งผลให้เกิดความไม่เข้าใจ หรือเข้าถึงกันได้ยาก ซึ่งปัญหาเหล่าน

เมื่ออายุมากขึ้น ระบบร่างกายจะเป็นเช่นใดบ้าง

ผู้สูงอายุหลายท่าน หรือวัยกลางคนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ช่วงสูงอายุ