โรคไขมันในเลือดสูง คือ โรคที่มีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าค่าที่ถูกกำหนดขึ้น ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ความเสี่ยงของโรค
- ผู้ชายที่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป
- มีประวัติพ่อหรือพี่น้องผู้ชายเป็นโรคหัวใจขาดเลือด (กล้ามเนื้อหัวใจตาย) ที่อายุน้อยกว่า 55 ปี หรือมีแม่หรือญาติผู้หญิงเป็นโรคหัวใจขาดเลือดที่อายุน้อยกว่า 65 ปี
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตร-ปรอท
- สูบบุหรี่
- มีไขมัน HDL ต่ำกว่า 40 mg/dl
การรักษาโรคไขมันในเลือดสูง
การรักษาโรคไขมันในเลือดสูง มีดังนี้
1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา
- ควบคุมอาหาร ลดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ต่างๆ เนื้อสัตว์ติดมัน กุ้ง หอย ปลาหมึก ไข่ปลา เป็นต้น ลดอาหารประเภทแป้งขัดสี เช่น ขนมปังชนิดต่างๆ ปาท่องโก๋ โดนัท เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นสปาเกตตี มักกะโรนี บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้นออกกำลังกายและลดน้ำหนัก
2. การรักษาโดยการใช้ยา
โดยยาที่ใช้แบ่งไปตามกลุ่มอาการต่างๆ ของโรค และไม่ควรซื้อยารับประทานเองเด็ดขาด
การดูแลตนเอง
- จำกัดอาหารไขมันให้น้อยที่สุดหรือดังกล่าวแล้ว หลีกเลี่ยงอาหารทอดและใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันจากสัตว์
- จำกัดอาหารแป้งและน้ำตาลเพื่อลดโอกาสเกิดโรคเบาหวาน
- กินอาหารจืดเพื่อลดโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมักพบเกิดร่วมกับโรคไขมันในเลือดสูง
- เลิกบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่เพิ่มการจับตัวของไขมันในหลอดเลือด เพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดแข็ง
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกินรวมถึงออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- กินยาลดไขมันตามแพทย์แนะนำอย่าขาดยา
- พบแพทย์ตามนัดเสมอ
เมื่อเป็นโรคไขมันในเลือดสูง ก็อย่าลืมใส่ใจเรื่องการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมคอเลสเตอรอล และหมั่นออกกำลังกายเสมอๆ ด้วยนะคะ เพราะเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญค่ะ
ผู้สูงอายุ มักมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคไต โรคปอด เป็นต้น ซึ่งโรคเหล
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุเพศชาย และสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายในการปัสสา
ในวัยสูงอายุ เป็นวัยที่มักจะคิดมาก และมีความกังวลใจในทุกเรื่อง นั่นเพราะสุขภาพร่างกา
เชื่อว่าทุกคนคงเคยผ่านการมีอาการปวดศีรษะมาก่อน เพราะอาการปวดศีรษะ มั
ความดันของคนเราปกติจะอยู่ที่120/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งการที่ความดันโลหิตสูงมักเกิดจากสภาวะอารมณ์ หรือกิจกร
แม้ว่าโรคมะเร็งดวงตา จะเกิดได้น้อยมาก แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น เราจึงควรรู้ทันโรคมะ