อาการเจ็บหน้าอก เกิดจากเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ ซึ่งพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย สาเหตุสำคัญของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คือ หลอดเลือดหัวใจตีบจากการเสื่อสภาพเนื่องจากภาวะสูงอายุ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และกรรมพันธุ์ เป็นต้น
อาการของโรค
อาการที่พบได้บ่อย คือ แน่นหน้าอก ปวดตรงกลางอกเหนือลิ้นปี่ เหมือนมีอะไรกดทับหรือบีบ บางครั้งมีอาการแสบร้อน อาการดังกล่าวอาจลุกลามไปด้านหลัง คอ ไหล่ คาง หรือต้นแขน มักมีอาการอยู่ประมาณ 5 นาที
อาการปวดแน่น เจ็บหน้าอก จะทำให้รู้สึกหายใจลำบาก เหงื่อไหล อาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้พบได้ในตอนที่ต้องออกแรงมาก เครียดมาก หลังรับประทานมื้อหนัก อากาศเย็น หรือช่วงสูบบุหรี่
การดูแลตนเอง
ผู้ที่มักมีอาการหัวใจขาดเลือด ควรดูแลตนเองอย่างดี ดังนี้
- หากมีอาการควรนอนราบและให้ญาติติดต่อรถฉุกเฉินของโรงพยาบาล หรือหากมียาขยายหลอดเลือดหัวใจ ให้รีบทาน อม หรือพ่นทันที
- ระวังควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้เกิดโรคอ้วน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาทีต่อวัน
- ไม่สูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก
- รู้จักทำอารมณ์ให้แจ่มใส ห่างไกลความเครียด
- รักษาควบคุมโรคเบาหวาน โรคความดันสูง โรคไขมันในเลือดสูงอย่างเคร่งครัด เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของอาการหัวใจขาดเลือด
แม้ว่าจะมีวิธีป้องกัน และดูแลตนเองเป็นอย่างดี แต่ความชรา และกรรมพันธุ์ ก็ยังเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเราทุกคนจึงยังคงประสบได้อยู่ดี การลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งการทำจิตใจให้แจ่มใส เป็นคนอารมณ์ดี มองโลกในแง่บวกอยู่เสมอ เป็นการปฏิบัติตนที่ทำให้เราห่างไกลจากอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดที่ดีที่สุด
เมื่ออายุเข้าสู่เลข 5 เลข 6 ผู้สูงอายุมักจะเริ่มปล่อยปะละเลยตนเองในเรื่องอาหารการกิน เพราะไม่ห่วงเรื่อง
อาการเวียนศีรษะ หลายคนประสบมากับตัวเองมาแล้ว มีอาการ มึนหัว มึนงง ตัวลอยๆ ไม่มั่นคง
อาการท้องผูก เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุทุกคน เกิดจากการที่ระบบร่างกายทำงานแปรปรวนไป แ
โรคเกาต์เป็นอาการผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากการกินและไม่ค่อยออกกำลังกาย ส่วนมากพบในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้
ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ โดยเฉพาะสตรีในวัยทอง ที่มักมีปัญหากระดู
หากพูดว่าผู้สูงอายุ ที่จริงแล้ว ก็คือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งในช่วงวัยสูงอ