ถ้าพูดถึงการตรวจโรค การตรวจปัสสาวะ เป็นวิธีการตรวจโรคที่มีประโยชน์มากที่สุดวิธีหนึ่ง ช่วยให้รู้โรคเกี่ยวกับอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น และยังวินิจฉัยโรคอื่นๆ ได้อีก เช่น เบาหวาน สารเสพติด และภาวะตั้งครรภ์
ลักษณะของปัสสาวะ
- เป็นภาวะปลอดเชื้อ แต่เมื่อขับออกจากร่างกายโดยสัมผัสสารคัดหลั่ง เยื่อเมือกของอวัยวะเพศ หรือบริเวณก้นแล้ว จะเกิดการปนเปื้อนได้
- ปริมาณปัสสาวะต่อวันจะขึ้นอยู่กับการดื่มน้ำ สภาพอากาศ การทานอาหาร การออกกำลังกาย อาชีพ กิจวัตรประจำวัน สุขภาพ และโรคประจำตัว ซึ่งโดยปกติจะอยู่ที่ประมาณ 1-2 ลิตร
- ส่วนประกอบหลักของปัสสาวะคือน้ำถึง 95 % นอกจากนั้นเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นสายปลายทางของโปรตีน ที่เรียกว่า ยูเรีย เกลือแร่ สารครีอะตินีน และสารเคมีต่างๆ อีกมากมาย
- หากเป็นเบาหวาน จะตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ ซึ่งปกติจะไม่มี
- ปัสสาวะปกติจะไม่มีโปรตีน และไม่มีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเซลล์หรือเนื้อเยื่อต่างๆ
- ปัสสาวะปกติจะใส ไม่ขุ่น หากขุ่นจะมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- สีปกติของปัสสาวะจะเป็นสีเหลืองอ่อน และอาจเข้มขึ้นหากดื่มน้ำน้อย และไม่มีกลิ่นหรือกลิ่นแอมโมเนียจางๆ
การดื่มปัสสาวะ
เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมายาวนานว่าการดื่มปัสสาวะ เป็นการรักษาโรคได้หรือไม่ ปกติแล้ว ปัสสาวะใช้ดื่มได้ แต่ต้องคำนึงถึงความสะอาด และการปนเปื้อนต่างๆ ซึ่งปัสสาวะของบางคนจะมีสารภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ทำให้มีความเชื่อในบางกลุ่มว่าสามารถรักษาโรคได้ แต่ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่พบว่าการใช้ปัสสาวะสามารถรักษาโรคให้หายได้
ประโยชน์ของการตรวจปัสสาวะ
การตรวจปัสสาวะ สามารถใช้เป็นการตรวจเพื่อคัดกรอง วินิจฉัย และติดตามผลการรักษาโรคได้ การตรวจปัสสาวะไม่มีโทษ และตรวจซ้ำได้เสมอ ค่าใช้จ่ายต่ำ และตรวจได้ง่าย ได้ผลที่รวดเร็ว การตรวจปัสสาวะจึงเป็นการตรวจสุขภาพพื้นฐานที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง
แม้ว่าคุณจะเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรงใดๆ แต่ก็สามารถตรวจหาความผิดปกติต่างๆ จากการตรวจปัสสาวะได้เช่นกัน ซึ่งช่วยให้พบความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น และนำไปสู่โรคร้ายต่อไปได้
นอกจากโรคประจำตัวแล้ว ผู้สูงอายุก็มักมีอาการเจ็บป่วยอยู่เรื่อยๆ ซึ่งอาจเป็นอาการต่าง
ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผิวเริ่มจะแห้งมากขึ้น และเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป ผิวมักจะแห้งกร้านมาก และมี
โรคทางสมอง อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคนอย่างไม่รู้ตัว แต่ในผู้สูงอายุ อาการเริ่มต้นนั้น อาจเกิดจากการนอนไม่
หากพูดว่าผู้สูงอายุ ที่จริงแล้ว ก็คือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งในช่วงวัยสูงอ
ไม่ว่าใคร และในช่วงวัยใดก็ตาม ก็ย่อมต้องเผชิญกับความสูญเสียด้วยกันทั้งสิ้น แต่สำหร
อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลง และเกิดโรคภัยต่างๆ ตามมา ปัจจัยหนึ่งที่คุณสามารถควบคุมได