เลือดออกในโพรงสมองอันตรายถึงชีวิต



แค่ได้ฟังว่า เกิดภาวะเลือดออกในโพรงสมอง ก็รู้สึกว่าอันตรายแล้ว ซึ่งภาวะเลือดออกในโพรงสมองมีความอันตรายจริง และอันตรายมากๆ ถึงขั้นเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว

ภาวะเลือดออกในโพรงสมอง คือภาวะที่เลือดออกในกะโหลกศีรษะ ในเนื้อสมองส่วนที่เป็นโพรงสมอง ทำให้เกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้น จึงมีอาการผิดปกติต่างๆ ทางระบบประสาท

สาเหตุของโรค
- เกิดจากการกระทบกระเทือนรุนแรงต่อโพรงสมองโดยตรง เช่น อุบัติเหตุรุนแรงที่ศีรษะ เนื้องอกในเนื้อเยื่อโพรงสมอง เลือดออกในโพรงสมอง เป็นต้น
- เกิดจากการแตกของหลอดเลือดในเนื้อสมอง และเลือดทะลุเข้าไปในโพรงสมอง เกิดจากการที่ความดันโลหิตสูง แล้วไม่สามารถควบคุมได้ดี
โดยผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงคือผู้สูงอายุ และมีเลือดออกในเนื้อสมองปริมาณมาก ทำให้เกิดก้อนเลือดขนาดใหญ่ออกอยู่ในเนื้อสมองส่วนลึกใกล้กับโพรงสมอง

อาการของโรค
ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
- อาเจียนทันที
- ตาพร่ามัว
- ชัก ซึมลง หมดสติ โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด
หากไม่ระมัดระวัง อาจทำให้พิการ เป็นอัมพาตรุนแรง เกิดแผลกดทับ ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และอยู่ในสภาพผักได้

การดูแล
ผู้ที่เป็นภาวะเลือดออกในโพรงสมองต้องมีผู้ดูแล เพราะจะไม่สามารถดูแลตนเองได้ ซึ่งต้องอาศัยความเอาใจใส่ และดูแลอย่างใกล้ชิดจากญาติพี่น้อง

อย่างไรก็ตาม หากคุณอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรคเลือดออกในโพรงสมองได้ คุณควรทำอารมณ์ให้แจ่มใสอยู่เสมอ เพื่อควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และระมัดระวังตนเองจากอุบัติเหตุต่างๆ ก็จะช่วยให้ห่างไกลโรคนี้ได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

4 ข้อควรทำ ในการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ มีความเสื่อมถอยสัมพันธ์กันกับสุขภาพร่างกาย เนื่องจากสภาพร่า

อาการข้อไหล่ติด ออกกำลังกายช่วยได้

โรคข้อไหลติด (Adhesive Capsulitis / Frozen Shoulder) เป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มอายุ 40-60 ปี จะมีอาการปวดตื้อๆบริเวณข้อไหล่ มักจะปวดมาก

ภาวะขี้หูอุดตันในผู้สูงอายุ

แม้ว่าภาวะขี้หูอุดตันจะพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่ก็สามารถพบได้ในผู้สูง

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มีความสุข

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักเผชิญกับความชราอย่างยากลำบาก เพราะนอกจากสภาพร่างกายที่ถดถอย

ปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ป้องกันข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ เรียกได้ว่า อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุทุกท่าน

ภาวะสมองฝ่อ เกิดกับผู้สูงอายุทุกคนหรือไม่ และจะป้องกันอย่างไร

หากพูดว่า “สมองฝ่อ” เรามักสงสัยว่า เมื่ออายุของเราเพิ่มมากขึ้น จะสามารถเป็นโรคสม