ความดันโลหิตต่ำ ภาวะอันตรายที่พึงระวัง



หากพูดถึงความดันโลหิตสูง คงเป็นที่รู้จักของใครหลายๆ คน และเป็นภาวะที่ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และสูงอายุมักจะเป็น แต่หากพูดถึงความดันโลหิตต่ำ อาจจะฟังไม่คุ้นหูนัก

ความดันโลหิตต่ำ เป็นภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท หรือ ความดันโลหิตไดแอสโตลิค ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท หรืออาจเป็นทั้งสองอย่างโดยผู้ที่เป็นจะมีอาการตาลาย วิงเวียน หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้อาเจียน มือเท้าเย็น เหงื่อออกมาก หายใจเร็ว กระหายน้ำ อาจมีผื่นขึ้น ตัวบวม เจ็บแน่นหน้าอก หรือชักหมดสติได้หากความดันต่ำมาก

สาเหตุการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
- ปริมาณน้ำ ของเหลว หรือเลือด ไหลเวียนลดลง เลือดจึงกลับเข้าสู่หัวใจน้อย หัวใจจึงเต้นบีบตัวน้อยลง เช่น ภาวะขาดน้ำ ขาดเกลือแร่ เลือดออกรุนแรง เป็นต้น
- ภาวะโลหิตจาง เมื่อเลือดเข้มข้นน้อยลง ความดันโลหิตจึงลดต่ำลง
- ทานอาหารปริมาณมาก ส่งผลเลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารและลำไส้มาก จึงเกิดเลือดคั่งในกระเพาะอาหารและลำไส้ เลือดจึงกลับเข้าหัวใจลดลง ทำให้ความดันต่ำไปด้วย
- โรคของประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายคั่งอยู่ในเนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ จึงไหลกลับเข้าหัวใจน้อยลง ทำให้ความดันต่ำ
- ภาวะติดเชื้อรุนแรงในกระแสโลหิต
- การแพ้ยา แพ้อาหาร ผลข้างเคียงจากยา และการตั้งครรภ์ในบางราย

ปัจจัยเสี่ยง
- ผู้สูงอายุ เนื่องจากดื่มน้ำน้อย และไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย
- มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หัวใจ ต่อมไทรอยด์ และภาวะซีด
- กินยาบางชนิด เช่น ยาขับน้ำ ยาโรคความดันโลหิตสูง และยาโรคเบาหวาน
- ภาวะขาดน้ำจากท้องเสีย อาเจียนรุนแรง หรือภาวะลมแดด

การดูแลตนเอง
- ควรปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว และเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ
- ทานอาหารในปริมาณที่พอดี
- ควบคุมโรคที่เป็นอยู่ให้ดี

ภาวะความดันโลหิตต่ำ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีผลเสียไม่แพ้ภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งควรระมัดระวังมากกว่าความดันโลหิตสูงเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากภาวะนี้มักไม่ค่อยแสดงอาการ จนกระทั่งเข้าภาวะที่ค่อนข้างหนัก ดังนั้น หมั่นตรวจสุขภาพ และระวังอย่าให้ร่างกายขาดน้ำนะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการในผู้สูงอายุ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย

ในช่วงสูงอายุ ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปมากอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ผู้สูงอายุเกิดสภาวะอารมณ์ที่แปรปรวน เพราะรับไม่ได้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งควรเรีย

ผู้สูงอายุที่อ่อนแรง ดูแลตนเองอย่างไร

สุขภาพร่างกายของคนเราจะดีได้นั้น มีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่างหลักๆ คือ ระบบร่างกายที่ทำง

ภาวะเสียการสื่อความ เสี่ยงอัมพาต?

เมื่ออยู่ในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เรามักพบว่าผู้สูงอ

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคไขมันในเลือดสูง

โรคไขมันในเลือดสูง คือ โรคที่มีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าค่าที่ถูกกำ

ผู้สูงอายุมีปัญหาการได้ยิน จะดูแลอย่างไร

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น สภาพร่างกายย่อมเสื่อมถอยลง โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ ที่สภาพร่างก

คันทวารหนักไม่ควรอาย รีบไปหาหมอ

แม้ว่าการคันทวารหนักจะพบได้ในทุกวัย แต่ก็พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากความย