ภาวะเสียการสื่อความ เสี่ยงอัมพาต?



เมื่ออยู่ในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เรามักพบว่าผู้สูงอายุมีอาการสมองเสื่อม แต่นั่นอาจไม่ใช่อาการสมองเสื่อม เป็นเพียงภาวะเสียการสื่อความเท่านั้น

ภาวะเสียการสื่อความ เป็นความผิดปกติของสมองส่วนการสื่อความ จึงทำให้มักตอบไม่ตรงคำถาม หรือตอบแบบงงๆ ซึ่งหากเป็นโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ จะเป็นเรื่องของการสูญเสียความทรงจำมากกว่า แต่ก็มีความเกี่ยวโยงกันอยู่มาก

อาการร่วมของภาวะเสียการสื่อความ พบว่ามีความผิดปกติทางการอ่าน การเขียน การมองเห็น ปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท และอาจพบแขนขาอ่อนแรง หรืออัมพาตได้ด้วย อารมณ์ก็แปรปรวนง่าย และซึมเศร้า

สาเหตุการเกิด
- โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพาต โดยเฉพาะชนิดสมองขาดเลือด
- โรคเนื้องอกในสมอง
- อุบัติเหตุต่อศีรษะ
- โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์วย
- ภาวะติดเชื้อในสมอง เช่น ฝีในสมอง

ความเกี่ยวเนื่องกันของภาวะเสียการสื่อความ สมองเสื่อม และอัลไซเมอร์
ผู้ที่เป็นภาวะเสียการสื่อความ จะเป็นอัมพาตหรือไม่นั้น ขึ้นกับสาเหตุของการเป็น หากมีสาเหตุมาจากการที่สมองขาดเลือด ก็มีโอกาสเป็นอัมพาตได้สูง หรือแม้จะเป็นด้วยสาเหตุอื่น แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่ดี ก็เป็นอัมพาตได้เช่นกัน

ส่วนภาวะเสียการสื่อความ ไม่ใช่โรคสมองเสื่อม แต่ในผู้ป่วยสมองเสื่อมที่รุนแรง ก็จะเกิดภาวะเสียการสื่อความได้ หรือในผู้ที่มีภาวะเสียการสื่อความ ก็อาจมีอาการสมองเสื่อมได้หากรักษาไม่ถูกต้อง

ภาวะเสียการสื่อความ มีผลข้างเคียงมากมาย เช่น อัมพาต ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เสียระดับความรู้สึกตัว เสียโอกาสการเรียนรู้ และอาจมีอาการชักได้

การดูแลผู้ที่เป็นภาวะเสียการสื่อความ
การดูแลนั้น ควรเป็นหน้าที่สำคัญของบุตรหลาน เพราะต้องคอยช่วยให้ฝึกพูดฝึกสื่อสารอยู่เป็นประจำ และสังเกตอาการของผู้สูงอายุ หากมีอาการแปลกๆ เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน หรืออาการทรุด ต้องรีบพาไปพบแพทย์

การดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็น ควรควบคุมโรคที่เป็นอยู่ให้ดีปรับสภาพจิตใจ ฝึกฝนทักษะต่างๆ ยอมรับในสิ่งที่เป็นและมีกำลังใจที่ดี ก็จะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ดูแลและป้องกันได้อย่างไร

อาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง แม้จะไม่ได้พบบ่อยนัก แต่ก็เกิดขึ้นได้ เกิดจากความผิดป

อาหารเป็นพิษในผู้สูงอายุ อาจเสี่ยงอันตรายได้

อาหารเป็นพิษ เกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย เกิดจากการกินอาหาร หรือเ

ต้อหินเรื้อรังในผู้สูงอายุ

ต้อหิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ต้อหินเฉียบพลัน และต้อหินเรื้อรัง ต้อหินเรื

4 ข้อในการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ

การดำเนินชีวิตในแต่ละช่วงวัยของคนเรานั้น ย่อมมีหลักในการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สามาร

ภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว ในผู้สูงอายุ

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจต่างๆ มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจ

4 ข้อควรทำ ในการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ มีความเสื่อมถอยสัมพันธ์กันกับสุขภาพร่างกาย เนื่องจากสภาพร่า