อาการเพ้อ และโรคสมองเสื่อม



บุตรหลานที่มีผู้สูงอายุในบ้าน มักเคยพบเห็นอาการแปลกๆ ของผู้สูงอายุ ที่ดูเหมือนเพ้อ แต่ก็เป็นๆ หายๆ ซึ่งสร้างความเป็นห่วงให้ลูกหลาน ว่าจะเป็นอันตราย หรือเป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่

อาการของโรค
อาการเพ้อ เป็นอาการสับสนฉับพลัน มีอาการสับสนขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เป็นระยะเวลาไม่นาน และอาจเป็นในช่วงกลางคืน อาการเพ้อจะเป็นรวดเร็วในทันทีไม่ค่อยเป็นค่อยไปเหมือนโรคสมองเสื่อม และไม่มีอาการรุนแรงเหมือนโรคสมองเสื่อม อาการเพ้อจึงต่างจากโรคสมองเสื่อม และอาจยังไม่ใช่โรคสมองเสื่อม แต่ในระยะเริ่มแรกที่มีอาการ บุตรหลานควรใส่ใจใกล้ชิด และรีบพาไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุว่าเป็นอาการเพ้อ หรือโรคสมองเสื่อมกันแน่

ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการเพ้อ
ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการเพ้อคือ ผู้สูงอายุ ใช้ยานอนหลับ มีโรคทางสมอง มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ เป็นต้น เป็นโรคติดเชื้อรุนแรง พิษสุราเรื้อรัง พักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน มีปัญหาในการมองเห็น และอาจเกิดขึ้นกับผู้เป็นโรคสมองเสื่อม

การรักษา
1. แก้ไขสาเหตุโดยตรง
การแก้ไขสาเหตุของโรคโดยตรง คือ หากใช้ยานอนหลับก็ให้หยุดยา หรือหากมีโรคติดเชื้อ ก็ทำการรักษาอาการติดเชื้อเป็นต้น
2. รักษาโดยประคับประคองตามอาการ
การรักษาโดยการประคับประคองตามอาการ ทำได้โดยการพูดคุยกับผู้ป่วย การให้คำแนะนำ หรือการใช้ยารักษา เป็นต้น
3 จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ นอนให้เป็นเวลา ให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวในแต่ละวัน อย่าให้นอนกลางวัน ใช้อุปกรณ์ช่วยในการฟัง หรือใส่แว่น เป็นต้น

แม้อาการเพ้อ จะไม่ใช่โรคสมองเสื่อมเสมอไป แต่อาการเพ้อ พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและผู้ที่มีอาการเพ้อก็มีโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมตามมาได้สูงกว่าผู้ที่ไม่มีอาการ ซึ่งแม้ไม่เป็นโรคสมองเสื่อม แต่ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพได้ การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และบุตรหลานควรดูแลอย่างใกล้ชิด ก็จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความดันโลหิตสูง ควบคุมได้

ความชรา นำมาซึ่งอาการเจ็บป่วย และโรคภัย แม้ผู้สูงอายุบางท่านจะสุขภ

เนื้องอก มะเร็งสมอง เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุ

เมื่อดูละคร เรามักพบเห็นว่า พ่อของพระเอก นางเอก มักเป็นโรคเนื้องอก มะเร็งในสมอง จนท

โรคหัวใจ คุณเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ?

หัวใจ เป็นอวัยวะสำคัญที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายประมาณ 5 ลิตรต่อนาที ทำงานอย่างต่อเนื่องผ่านระบบไฟฟ้

ปวดศีรษะ อาการอันตรายที่ต้องตรวจสอบ

นอกจากโรคประจำตัวแล้ว ผู้สูงอายุก็มักมีอาการเจ็บป่วยอยู่เรื่อยๆ ซึ่งอาจเป็นอาการต่าง

กินดี มีสุขภาพยืนยาว

อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลง และเกิดโรคภัยต่างๆ ตามมา ปัจจัยหนึ่งที่คุณสามารถควบคุมได

ความดันโลหิตต่ำ ภาวะอันตรายที่พึงระวัง

หากพูดถึงความดันโลหิตสูง คงเป็นที่รู้จักของใครหลายๆ คน และเป็นภาวะที่ผู้ที่มีน้ำ