การหลงลืม ขี้ลืม ในผู้สูงอายุ

อาการขี้ลืม มักเกิดขึ้นในวัยสูงอายุเป็นส่วนใหญ่ เช่น จำชื่อเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนานไม่ได้ จำไม่ได้ว่าวางของไว้ที่ใด หรือจำไม่ได้ว่าเก็บของเรียบร้อยก่อนออกมาจากบ้านหรือยัง เป็นต้น ซึ่งหากเป็นอาการขี้ลืม เข้าขั้นที่เรียกว่าหลงลืม อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและความปลอดภัยได้ เช่น ลืมปิดแก๊ส เป็นต้น

อาการขี้ลืม เกิดจากการขาดสมาธิ ไม่ใส่ใจ การรีบเร่ง นอนไม่พอ ทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน รวมทั้งการทานยานอนหลับและยาลดน้ำมูก



ความรุนแรงของอาการหลงลืม ขี้ลืม
แม้ว่าในบางคนอาการหลงลืม ขี้ลืม จะไม่มีความรุนแรง แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ จึงควรหาสาเหตุของอาการเพื่อแก้ไข เช่น เลิกทานยาบางอย่าง พยายามทำสมาธิให้มากขึ้น ใส่ใจในสิ่งที่ทำ ไม่กังวลต่อสิ่งต่างๆ จนคิดไม่ตกเป็นประจำ เป็นต้น

หากคุณมีอาการหลงลืม ขี้ลืมเป็นประจำ ประกอบกับเริ่มมีอายุที่มากแล้ว ควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด เพราะอาการขี้ลืมธรรมดาๆ ก็เป็นอาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมได้

การดูแลตนเอง และป้องกันอาการหลงลืม ขี้ลืม
- พยายามมีสมาธิกับสิ่งที่ทำ ไม่เครียด ไม่วิตกกังวลง่าย และไม่ทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
- ฝึกใช้สมองสม่ำเสมอ เช่น เล่นเกม ท่องจำ ร้องเพลง แก้โจทย์คณิตศาสตร์ เป็นต้น เพื่อฝึกความจำ และป้องกันสมองเสื่อม
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ โดยจำกัดไขมัน แป้ง ความเค็ม และน้ำตาล รวมถึงหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
- หากมีความผิดปกติทางสมอง ควรพบแพทย์
- อย่าหลงเชื่อเครื่องดื่มบำรุงสมอง หรืออาหารเสริมที่อ้างสรรพคุณว่าช่วยป้องกันอาการหลงลืม หรือช่วยเรื่องความจำได้ เพราะยังไม่มีการรับรอง และอาจก่อให้เกิดอาการแพ้สิ่งเหล่านี้ได้

หากคุณเริ่มมีอาการขี้ลืม หรือหลงลืมอะไรบ่อยๆ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องปกติของช่วงวัยนะคะ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็คอาการต่อไป เพราะอาการขี้หลงขี้ลืม ที่คุณมองว่าเป็นเรื่องปกตินี่แหละ อาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมก็ได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

7 สารอาหารสำคัญ สำหรับคนสูงวัย

สำหรับผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ต้องใส่ใจในเรื่องโภชนาการเป็นสำคัญ นอกจากจะทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกา

บำรุงร่างกาย ให้แข็งแรง ด้วยสมุนไพร

สมุนไพร ถือเป็นสิ่งที่ช่วยบำรุงร่างกาย และรักษาอาหารหรือโรคต่างๆ ที่ถูกกล่าวขานมาช้านาน เพราะสามารถรั

การดูแลตนเองเมื่ออยู่ในสภาวะสูญเสีย

ไม่ว่าใคร และในช่วงวัยใดก็ตาม ก็ย่อมต้องเผชิญกับความสูญเสียด้วยกันทั้งสิ้น แต่สำหร

โรคซึมเศร้า ภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพจิต

สังคมที่วุ่นวายและเสื่อมโทรมในปัจจุบัน ส่งผลให้สุขภาพจิตของคนในสังคมย่ำแย่ตามไปด้วย โดยเฉพาะในผู้สูง

การป้องกันการติดเชื้อ และโรคประจำตัวในผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ โรคภัยต่างๆ ก็มักจะเข้ามารุมเร้า และเกิดอาการเจ็บป่

ควบคุมน้ำหนักได้ ห่างไกลโรคข้อกระดูกเสื่อม

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เมื่อจะลุกจะนั่ง มักรู้สึกปวดเมื่อย หรือเจ็บปวดตามข้อต่างๆ ของร