โรคกระดูกสันหลังเสื่อม ภัยคุกคามคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ



โรคกระดูกสันหลังเสื่อม ทำให้หลังคดโก่ง กระดูกเลื่อน ปวดหลัง ปวดคอ ซึ่งมักมีอาการเรื้อรังและรุนแรง ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตกต่ำลง และขาดความสุขในการดำเนินชีวิตได้อย่างง่ายดาย

สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม
- ผู้ที่มีอายุ 50-70 ปี หมอนรองกระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นเสื่อมไปตามสภาพ และเป็นผลจากการทำงานมานาน และมักต้องก้มๆ เงยๆ
- เป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคกระดูกบาง ซึ่งทำให้เกิดกระดูกพรุน และเสี่ยงต่อการเป็นกระดูกสันหลังเสื่อมได้
- การติดเชื้อ เช่น เชื้อวัณโรค และเนื้องอก หรือโรคมะเร็ง
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาพวกสเตียรอยด์
- พันธุกรรม
- การหมดประจำเดือน

การดูแลตนเอง เมื่อเป็นโรคกระดูกเสื่อม
- ทำกิจกรรมในท่าทางที่เหมาะสม ไม่ใช้งานหลังหนักหรือต่อเนื่องนานๆ
- หลีกเลี่ยงการก้มๆ เงยๆ การยกของหนัก
- พบแพทย์ตามนัด และทำกายภาพบำบัดเสมอรวมถึงใช้ยาแก้ปวดให้น้อยที่สุด
- ออกกำลังกายเสมอ
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ และพอดีต่อความต้องการ
- ถ้ามีอาการปวด สามารถไปพบแพทย์ได้ทันที
- ได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ ในช่วงเช้าและสายของวัน
- ตรวจมวลกระดูกเป็นประจำ และรักษาโรคกระดูกพรุนตามที่แพทย์สั่ง เพื่อป้องกันโรคกระดูกสันหลังเสื่อมที่อาจตามมา

โรคกระดูกสันหลังเสื่อม เป็นโรคเรื้อรังที่สร้างความเจ็บปวดและความรำคาญใจให้กับผู้สูงอายุไปตลอดชีวิต แต่หากเราสามารถดูแลตนเองได้อย่างดี ซึ่งเป็นการป้องกันโรคกระดูกสันหลังเสื่อมได้ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทานแคลเซียมเพิ่มแม้แต่น้อย


บทความที่เกี่ยวข้อง

คุณมีกระหรือไม่ กระในผู้สูงอายุเกิดได้อย่างไร และป้องกันอย่างไร

เรามักสังเกตเห็นว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุมากๆ มักมีกระบริเวณใบหน้า และผิวส่วนต่างๆ

กระดูกแข็งแรง ด้วยอาหารสร้างมวลกระดูก

เรื่องของกระดูก สำคัญมากสำหรับช่วงวัยสูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีมวลกระดูกน้อ

คุณมีอาการชาหรือไม่ อาจเสี่ยงเป็นโรคเส้นประสาท

หากคุณมีอาการชา หรือมีความรู้สึกแปลกไปจากเดิมบริเวณมือ แขน ขา และใบ

มาทำความรู้จักอาการเนื้อสมองตายกันเถอะ

หากญาติผู้ใหญ่ของคุณตรวจพบว่าเป็นเนื้อสมองตายเหตุขาดเลือด คุณคงตกใจมาก และคิดไปต่

ดูแลตนเองอย่างไร เมื่อเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการตีบและแข็งของหลอดเลือดแดงที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ

ความดันโลหิตสูง ควบคุมได้

ความชรา นำมาซึ่งอาการเจ็บป่วย และโรคภัย แม้ผู้สูงอายุบางท่านจะสุขภ