รู้จัก และรับมือกับ “วัยทอง”อย่างภาคภูมิใจ



วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน เป็นวัยที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนในช่วงอายุ 47-50 ปี เริ่มจากรังไข่เริ่มทำงานไม่ปกติ ซึ่งทำให้มีประจำเดือนถี่ขึ้นจากช่วงห่าง 28 วัน เป็นประมาณ 21 วันและระยะเวลาระหว่างรอบระดูจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งไม่มีประจำเดือนอย่างถาวร โดยทั่วไปช่วงนี้ใช้เวลา 2-8 ปี

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
การเปลี่ยนแปลงในวัยทองนี้ แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน บางคนไม่มีปัญหาใดๆ แต่บางคนก็มีอาการรุนแรง ซึ่งส่งผลต่อร่างกายและจิตใจโดยสาเหตุนั้นเกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม การดำเนินชีวิต และสภาพแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น
เกิดขึ้นในช่วงต้นของการใกล้หมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการ ดังนี้
- เกิดอาการร้อนวูบวาบตามตัว ผิวหนังขาดความยืดหยุ่น กำลังกล้ามเนื้อลดลง ปวดตามข้อ
- ช่องคลอดอักเสบ คันช่องคลอด ช่องคลอดแห้ง ทำให้เจ็บเวลามีการร่วมเพศ ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ ได้แก่ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เครียด กังวล เหนื่อย เพลีย หมดความต้องการทางเพศ เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงในระยะยาว
เกิดขึ้นในช่วงหลังของวัยหมดประจำเดือน ซึ่งมีอาการดังนี้
- มีการสูญเสียกระดูกมากขึ้น ทำให้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้เร็ว
- เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไขมันในเลือดสูง

การรักษา
การรักษาทำได้โดยการให้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งเหมาะกับผู้ที่มีอาการ โดยใช้ฮอร์โมนทดแทน คือ เอสโตรเจน เอสโตรเจนและโปรเจสเทอโรน และฮอร์โมนอื่นๆซึ่งอาจเกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด เจ็บคัดเต้านม ปวดศีรษะ เป็นต้น

การปฏิบัติตนในวัยทอง
- ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง และควรทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ตรวจเต้านมด้วยตนเอง และตรวจร่างกายประจำปี
- ปรึกษาแพทย์ในการใช้ฮอร์โมนทดแทนในรายที่จำเป็น

เมื่อรู้จักอาการของวัยทอง และการปฏิบัติตนแล้ว การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้ดีอยู่เสมอก็ช่วยได้มาก เพื่อให้คุณยิ้มรับวัยทองได้อย่างภาคภูมิใจ


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะความชรา และอาการที่พบ เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงสูงวัย

เมื่อคนเราอายุ 30 ปีขึ้นไป ร่างกายจะเสื่อมถอยลง การทำงานต่างๆ ในร่างกายที่เคยทำงานได้

คำแนะนำในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีประโยชน์ต่อทุกช่วงวัย แต่การออกกำลังกาย

ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงวัยแต่ละคนแตกต่างกัน

เมื่อช่วงวัยที่ยังเป็นหนุ่มสาว หรืออยู่ในช่วงวัยกลางคนตอนปลาย คนในช่วงวัยเดียวกัน

10 กฎเหล็ก ในการก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพ

ในแต่ละช่วงวัยของชีวิต เราจำเป็นต้องดูแลตนเองให้เหมาะกับวัยของตน เพื่

สิ่งที่ผู้สูงอายุ อยากเห็นเกิดขึ้น ในชีวิตนี้

ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่มีเวลาว่างมากที่สุด ไม่ต้องคิดอะไรมาก ไม่ต้องประกอบอาชีพใด และไม่ต้องรับผิดช

จักรยานสูงวัย เพื่อหัวใจแข็งแรง

ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงอายุใด หรือมีสภาพร่างกายเป็นอย่างไร การออกกำลังกาย ก็ยังคงเป็นกิจกรรมที่สำคัญ แล