การดูแลสายตาหลังการผ่าตัดต้อกระจก

โรคตา เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้ในผู้สูงอายุทุกคน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสายตาสั้น สายตายาว และโรคที่เกิดขึ้นกับตา เช่น ต้อกระจก
ต้อกระจก เป็นโรคตาที่หากปล่อยไว้ จะเกิดปัญหาในการมองเห็นถึงขั้นตาบอดได้ จึงต้องได้รับการรักษา ซึ่งการรักษาจะใช้วิธีการผ่าตัด

หลังจากการผ่าตัดต้อกระจก หรือผ่าตัดรักษาดวงตาในกรณีต่างๆ อาจเกิดผลข้างเคียง หรืออาการในระยะพักฟื้นต่างๆ ซึ่งหลังการผ่าตัด ควรใช้เลนส์ตาช่วยในการมองเห็น ซึ่งมีเลนส์ต่างๆ ดังนี้



1. การใช้เลนส์แว่นตา
โดยใช้เลนส์แว่นตาที่มีกำลังประมาณ 10 ไดออปเตอร์ ซึ่งมีความหนามากกว่าแว่นตาทั่วไป แต่ข้อเสียคือ จะทำให้มองเห็นภาพที่มีขนาดโตกว่าเดิมถึง 25% และมักเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่ผ่าตัดเพียงข้างเดียว เพราะทำให้สับสนภาพที่เห็นจากแว่นได้ และแม้จะผ่าตัดทั้งสองข้างก็ต้องใช้เวลาปรับตัวเช่นกัน ในปัจจุบันจึงไม่เป็นที่นิยมเท่าใดนัก

2. การใช้เลนส์สัมผัส หรือ คอนแทคเลนส์
ข้อดีของเลนส์ชนิดนี้ คือ มีภาพที่ขยายจากเดิมเพียง 7% จึงปรับตัวได้ไม่ยาก แต่จะต้องใส่ใจเรื่องความสะอาดเป็นอย่างมาก และอาจติดเชื้อได้ง่าย

3. การฝังเลนส์แก้วตาเทียม
เป็นการฝังเลนส์แก้วตาเทียมลงแทนที่แก้วตาที่ผ่าตัดออก เหมาะกับสังคมปัจจุบันเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีข้อดีคือ ผู้ผ่าตัดไม่ต้องคอยใส่หรือถอดแว่น อีกทั้งยังไม่ต้องคอยถอดใส่เลนส์ ซึ่งสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่การฝังตาเทียมก็มีข้อจำกัด และไม่สามารถฝังได้ทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคดังต่อไปนี้
- เบาหวาน เพราะเบาหวานจะทำลายจอตา และทำให้เสียการมองเห็นแบบถาวร
- มีต้อหินร่วมด้วย เพราะการฝังแก้วตาเทียมมีผลทำให้โรคต้อหินแย่ลง
- โรคจอตาหลุดลอก เพราะสายตาเสียถาวรไปแล้ว
- โรคกระจกตาเสื่อม และโรคม่านตาอักเสบ ทำให้ฝังได้ยาก และมีโอกาสติดเชื้อในดวงตาได้มาก
- เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี เพราะจอตายังต้องเจริญเติบโตอีกเรื่อยๆ

ปัจจุบัน การพัฒนาทางการแพทย์สำหรับผู้ที่มีปัญหาเป็นโรคต้อกระจกและโรคตาต่างๆ ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นโรคทางตาดีขึ้น แต่ทางที่ดีที่สุด คือการป้องกันดวงตาของเราให้ดีอยู่เสมอ เพื่อจะได้ไม่ต้องเลือกวิธีการรักษาซึ่งไม่อาจดีได้เท่าเลนส์ตาจริงๆ ของเรา


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคซึมเศร้า ภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพจิต

สังคมที่วุ่นวายและเสื่อมโทรมในปัจจุบัน ส่งผลให้สุขภาพจิตของคนในสังคมย่ำแย่ตามไปด้วย โดยเฉพาะในผู้สูง

ดูแลตัวเองดี ก็ไม่ต้องกลัวโรคภัยในวัยสูงอายุ

แม้ว่าในวัยสูงอายุ จะมีโรคภัย และอาการเจ็บป่วยมาถามหาตลอดเวลา แต่ก็ใช่ว่าเราจะต้

ผู้สูงอายุทั้งหลาย วันนี้ท่านออกกำลังกายแล้วหรือยัง

การออกกำลังกาย เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิตที่ทุกคนควรปฏิบัติ เพราะช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแร

พฤติกรรมของผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อม

อาการสมองเสื่อม อาจพบได้ในผู้สูงอายุที่มีอายุมากแล้ว หรืออาจพบในผู้สูงอายุทั่วไปไ

อาการเพ้อ และโรคสมองเสื่อม

บุตรหลานที่มีผู้สูงอายุในบ้าน มักเคยพบเห็นอาการแปลกๆ ของผู้สูงอายุ ท

ดูแลตนเองอย่างไร เมื่อเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการตีบและแข็งของหลอดเลือดแดงที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ