การหกล้ม เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ แม้จะไม่อันตรายถึงชีวิต ก็อาจทำให้เกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต กระดูกหัก หรือกระทบกระเทือนสมองได้
สาเหตุของการหกล้มในผู้สูงอายุ
1. เกิดจากปัจจัยภายนอกร่างกาย
ปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น พื้นลื่น ข้าวของถูกวางไม่เป็นที่ สะดุดพื้น สายไฟ ของเล่น หรือพรมเช็ดเท้า แสงสว่างไม่เพียงพอต่อการมองเห็น เป็นต้น
2. เกิดจากปัจจัยภายในร่างกาย
ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น การเจ็บป่วยไม่สบาย เช่น ปอดอักเสบ ทางเดินปัสสาวะติดเชื้อตามองไม่เห็นโรคกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ เช่น ข้อเข่าเสื่อม โรคระบบประสาท เช่น โรคอัมพฤกษ์ โรคพาร์กินสัน โรคหัวใจ ความดันต่ำตอนเปลี่ยนท่า การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยาที่มีผลต่อความดัน เป็นต้น
การป้องกันภัยจากการหกล้ม
การป้องกันไม่ให้เกิดการลื่นล้ม หรือเกิดขึ้นได้น้อยลง ทำได้ดังนี้
ส่งเสริมสุขภาพ
การส่งเสริมสุขภาพ ทำได้โดย
- มีโภชนาการที่ดี
- การฝึกเดินที่ถูกต้อง
- การเสริมสร้างกำลังของกล้ามเนื้อด้วยการออกกำลังกาย โดยเฉพาะเน้นการฝึกกระดกข้อเท้าขึ้น
- การใช้อุปกรณ์ที่ช่วยการเดินเช่น คอกอลูมิเนียมที่มี 4 ขา ไม้เท้า
- การปรับพฤติกรรมส่วนบุคคลเช่น ลุกขึ้นยืนช้าๆเสมอ มองหาวัตถุรอบตัวที่สามารถจับยึดได้กรณีฉุกเฉิน การไม่เดินเข้าไปบริเวณที่เปียกน้ำ
ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ทำได้โดย
- ติดตั้งหลอดไฟบริเวณมุมมืดที่เดินผ่านบ่อยๆ โดยปุ่มสวิทซ์อยู่ใกล้มือเอื้อม
- มีอุปกรณ์เครื่องเรือนบริเวณที่อยู่เท่าที่จำเป็น และต้องแข็งแรงมั่นคงอยู่สูงจากพื้นมองเห็นได้ง่าย ไม่ย้ายที่บ่อย
- ให้เตียงนอน เก้าอี้ และโถส้วมมีความสูงพอเหมาะ ไม่เตี้ยเกินไป
- ทางเดินและบันได ควรมีราวจับตลอด และขั้นบันไดสม่ำเสมอ
- พื้นห้องสม่ำเสมอและเป็นวัสดุที่ไม่ลื่นโดยเฉพาะในห้องน้ำ บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างห้องควรอยู่ในระดับเดียวกัน หลีกเลี่ยงธรณีประตู ไม่ควรมีสิ่งของเกะกะเช่นพรมเช็ดเท้า สายไฟฟ้า
- หลีกเลี่ยงการมีสัตว์เลี้ยงเช่นสุนัข แมวในบริเวณที่อยู่อาศัย
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันผู้สูงอายุจากการหกล้ม คือการจัดสภาพแวดล้อม และการจัดบ้าน ให้เอื้อต่อความสะดวกสบายของผู้สูงอายุให้มากที่สุด เพื่อความปลอดภัย
ปัญหาเรื่องการปัสสาวะ เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากสภาพร่างกายไม่กระฉับกระเฉงและแข็งแร
ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับบรรดาข้อกระดูก
โรคข้อไหลติด (Adhesive Capsulitis / Frozen Shoulder) เป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มอายุ 40-60 ปี จะมีอาการปวดตื้อๆบริเวณข้อไหล่ มักจะปวดมาก
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น มักมีโรคภัยต่างๆ ถามหาอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะทำ
อาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง แม้จะไม่ได้พบบ่อยนัก แต่ก็เกิดขึ้นได้ เกิดจากความผิดป
แม้ว่าการคันทวารหนักจะพบได้ในทุกวัย แต่ก็พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากความย