ระบบทางเดินอาหาร มีผลต่อการย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย เมื่อถึงวัยสูงอายุ ระบบทางเดินอาหารจะทำงานได้ลดลง ซึ่งตัวผู้สูงอายุ และลูกหลานเอง ควรเอาใจใส่ดูแลเรื่องระบบทางเดินอาหารของผู้สูงอายุ เพื่อให้ทราบว่า ควรจัดโภชนาการ หรือการปฏิบัติตนอย่างไร
ระบบทางเดินอาหารของผู้สูงอายุ
ช่องปากและฟัน
- เยื่อบุช่องปากของผู้สูงอายุจะบางลง แต่ยังสามารถแบ่งตัวเป็นปกติ
- น้ำลายจากต่อมน้ำลายลดลง
- เนื้อฟันในผู้สูงอายุจะลดความทึบลง เหงือกร่นลงจากคอฟัน เนื่องจากความเสื่อม
- กระดูกขากรรไกรหดลงเรื่อย ๆ ทำให้ฟันเริ่มโยกคลอนได้ง่าย และยิ่งเมื่อมีหินปูนมาเกาะเกิดการติดเชื้อซ้ำเติม
หลอดอาหาร
พบว่าการไหลผ่านของอาหารจากลำคอสู่กระเพาะอาหารช้าลง
กระเพาะอาหาร
น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารลดความเป็นกรดลง
ตับ
- น้ำหนักของตับจะลดลงถึง 25 % จากอายุ 20 ปี ถึง 70 ปี เนื่องจากเซลล์ตับลดจำนวนลง
- ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนผ่านตับลดได้ถึง 35 % จากอายุ 20 ปี ถึง 90 ปี ทำให้การกำจัดยาที่เข้าสู่ร่างกายช้าลง
- ผู้สูงอายุมีความโน้มเอียงในการเกิดพิษจากยาและแอลกอฮอล์ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป
ลำไส้
- ลำไส้มีการเคลื่อนตัวช้าลง ทำให้ท้องผูกได้ง่าย
- ความสามารถในการดูดซึมอาหารไม่ลดลง โดยเฉพาะการดูดซึมไขมันไม่แตกต่างไปจากคนวัยหนุ่มสาว
- การดูดซึมคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนลดลงเล็กน้อย
การเรียนรู้ระบบทางเดินอาหารของผู้สูงอายุ ทำให้สามารถจัดโภชนาการที่เหมาะสมกับวัยและร่างกายของผู้สูงอายุได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการระมัดระวังในกิน และการปฏิบัติตนให้ถูกต้อง เพื่อให้คุณภาพชีวิตดี และไม่เกิดอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ หรือจุกเสียดแน่นท้องได้
ผู้สูงอายุ มักมีอาการต่างๆ ในทางที่ไม่ดี หรือเจ็บป่วยได้บ่อย เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอย และการทำ
เรามักพบเห็นว่าผู้สูงอายุ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มักมีอาการหลงลืมอยู่บ่อยๆ ซ
การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อย และเป็นอาการหนึ่งที่ผู้สูงอายุส่วนมากมักพบเจอ ซึ่ง
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และสามารถตรวจพบได้ง
การฉายรังสีรักษา หรือฉายแสง เป็นการรักษาโรคมะเร็งวิธีการหนึ่ง ซึ่งการฉายรังสีรักษ
แม้ว่าในวัยสูงอายุ จะมีโรคภัย และอาการเจ็บป่วยมาถามหาตลอดเวลา แต่ก็ใช่ว่าเราจะต้