ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ร่างกายย่อมอ่อนแอลง และเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น การจะรักษาคุณภาพชีวิตที่ดีไว้นั้น จำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตเป็นอย่างดี
ด้านร่างกาย
ในด้านร่างกาย เป็นเรื่องหลักในการดูแลตนเอง ซึ่งคุณควรดูแลตนเองดังนี้
- ดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- งดเว้นอาหารที่มีไขมัน แป้งมาก น้ำตาล และอบายมุขต่างๆ
- ออกกำลังกายให้พอเหมาะ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
- พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง
- ทำงานเพื่อประโยชน์ของตนเองและสังคมที่ไม่เกินกำลังของตนเอง
- ทำกายบริหารเป็นประจำ เพื่อให้ปอด หัวใจ และกล้ามเนื้อแข็งแรง
ด้านจิตใจ
ในด้านจิตใจ เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินชีวิต ดังนั้น การดูแลตนเองด้านจิตใจก็สำคัญไม่แพ้ด้านร่างกาย เพราะจิตใจที่ดี ย่อมนำมาซึ่งร่างกายที่ดีไปด้วย การดูแลด้านจิตใจมีดังนี้
- รักษาจิตใจให้ผ่องใส ไม่ยึดติดกับสิ่งใด รู้จักปลงต่อสิ่งต่างๆ
- ยึดมั่นในหลักศาสนา
- พบปะสังสรรค์กับผู้อื่นตามความเหมาะสม ทั้งเพื่อความสงบของจิตใจ และความเบิกบานของจิตใจ เช่น เข้าวัดฟังธรรม สังสรรค์กับกลุ่มเพื่อน
- ทำครอบครัวให้มีความสุข ผู้สูงอายุที่ดี ควรรักษาความสุขของครอบครัวไว้ให้ได้ ทำให้บ้านน่าอยู่ และเป็นดั่งร่มโพธิ์ร่มไทรให้ลูกหลานอย่างแท้จริง
- มีความสุขกับสิ่งเล็กน้อยใกล้ตัว เป็นการหาความสุขใส่ตัวได้ในทุกโอกาส และช่วยชะลอความแก่ได้อย่างอัศจรรย์อีกด้วย
เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ นับว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากมาย เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และมีคุณค่าต่อลูกหลาน ดังนั้น คุณจึงควรเตรียมความพร้อมของร่างกายและจิตใจเป็นอย่างดี เพื่อจะอยู่เป็นปูชนียบุคคลที่ทรงคุณค่าในครอบครัวต่อไป
สภาพสังคมในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ต้องออกไปทำงานกันหมด จึงมักมีความจำเป็นต้อง
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ปัญหาด้านสุขภาพก็มักจะตามมาด้วย ส่งผลให้ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเจ็บป่วย และเป็นโรค
ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ เกิดจากการที่ระบบต่างๆ ทำงาน
เรื่องของอาหารการกิน เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากกับผู้คนทุกเพศทุกวัยอยู่แล้ว ยิ่งในวัยสูงอายุ เรื่องของโภชนาการ ยิ่งมีความสำคัญมากๆ ต่อสุขภาพร่างกาย
แม้ตัวเลขจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมาพร้อมกับความเสื่อมของร่างกาย แต่
ผู้สูงอายุหลายท่าน หรือวัยกลางคนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ช่วงสูงอายุ