โรคข้อรูมาตอยด์ แม้จะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็พบได้ในผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นโรคดังกล่าว โดยโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำลายอวัยวะตนเอง ข้อต่างๆ เช่น ข้อมือ และข้อนิ้ว เกิดการอักเสบ และทำให้เกิดการพิการตามมาได้ โรคข้อรูมาตอยด์ ยังไม่มียาที่รักษาได้ แต่ก็มียาที่ช่วยบรรเทาอาการและลดความรุนแรงของโรคลงได้
อาการของโรค
- มีอาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งมักตรวจพบได้เมื่อมีอาการหลายเดือนไปแล้ว
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร และตามมาด้วยข้ออักเสบ
- อาจมีอาการไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต และม้ามโตร่วมด้วย
- ข้ออักเสบ ปวดบวมตามข้อต่างๆ แต่จะไม่พบที่ข้อปลายนิ้วมือและข้อกระดูกสันหลังส่วนเอว
- ปวดมากขึ้นเมื่อใช้งานตามข้อต่างๆ และหลังจากมีการพักนาน เช่น หลังตื่นนอนข้อจะยึดแข็ง ขยับไม่ได้เป็นเวลามากกว่า 1 ชั่วโมง
- เมื่อเกิดการอักเสบต่อกันเป็นหลายสิบปี กระดูกอ่อนของข้อจะถูกทำลาย บางลง และเกิดพังผืดขึ้นมาแทน ดึงรั้งให้ข้อเสีย ใช้งานไม่ได้ จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันเองได้
- มีอาการปวดชาหรือเสียวที่มือ กล้ามเนื้อมือฝ่อลีบ
- ถ้าเป็นที่ข้อเท้า เท้าอาจผิดรูปและพิการจนเดินไม่ได้
การดูแลตนเอง
- ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น
- หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- เคลื่อนไหวข้อต่อบ่อยๆ ในแต่ละวัน
- หลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้กระทบกระเทือน เช่น ยกของหนัก กระโดดจากที่สูง การใช้สว่านขุดเจาะ เป็นต้น
- ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ และได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างเพียงพอ
อย่างไรก็ดี โรคข้อรูมาตอยด์ ยังไม่ทราบสาเหตุการเป็นที่แน่ชัด และยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผลอย่าง 100 % แต่การดูแลตนเองอย่างดี หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ก็ช่วยให้ห่างไกลโรคได้
หากคุณสังเกตเห็นความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เช่น อาการอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก มองเห็
แม้โรคความดันโลหิตสูงจะพบในเด็กด้วย แต่ส่วนมากก็พบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุทั้งสิ้
เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ผิวหนังจะเริ่มเหี่ยวลง และอาจมีอาการคันมาก มีผื่นขึ
ต้อเนื้อ และ ต้อลม เป็นชนิดของโรคตา ที่ไม่รุนแรงเท่ากับต้อหินและต้อกระจก แต่