โรคจอตาเสื่อม เป็นโรคที่จะเกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงที่จอตา คือเซลล์รับรู้การเห็นมีจำนวนลดลง จอตามีเม็ดสีลดลง เม็ดสีที่ผิดปกติเพิ่มขึ้น มีไขมันปนอยู่ และมีเนื้อเยื่อของลูกตาเกิดการเสื่อมร่วมไปด้วย ทำให้เลือดมาเลี้ยงจอตาลดลง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น
- พันธุกรรม
- เพศ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- เชื้อชาติ พบว่าพวกผิวขาวเป็นมากกว่าผู้ที่มีผิวสี
- มีสายตายาว เสี่ยงมากกว่าผู้ที่มีสายตาสั้น
- ผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด มีไขมันในเลือดสูง และตาได้รับแสงแดดเรื้อรัง
- การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ซึ่งสารพิษในบุหรี่จะทำลายเซลล์จอตาโดยตรง
- ขาดสารอาหาร ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่
ความรุนแรงของโรค
โรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ ไม่ทำให้เกิดตาบอด แต่จะเห็นภาพไม่ชัด และมองภาพผิดเพี้ยนไป และมีผลต่อการใช้ชีวิต
การดูแลตนเอง
- เมื่อมีอาการ หรือมีปัญหาในการมองจนสังเกตได้ ควรรีบพบแพทย์
- ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด ครบถ้วน ถูกต้อง รวมถึงการใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ
- รักษาสุขภาพจิต ใช้สายตาอย่างพอเหมาะ และพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด
- หากอาการแย่ลง หรือผิดปกติมาก ควรรีบพบแพทย์ทันที
การป้องกันตนเอง
- ป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
- ใช้แว่นกันแดดที่มีประสิทธิภาพอยู่เสมอเมื่อต้องอยู่กลางแสงแดด
- ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ งดดื่มสุรา
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม
- ตรวจสุขภาพประจำปี ตั้งแต่อายุ 18-20 ปี
โรคจอตาเสื่อม ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เพราะดวงตาเป็นสิ่งสำคัญในการมองเห็น และการใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้ ดังนั้น เราควรป้องกันโรคจอตาเสื่อมเสียแต่เนิ่นๆ หากทำได้ และหากตาของคุณมีปัญหาในการมองเห็นไปแล้ว ควรหมั่นพบแพทย์ตามนัด และดูแลตนเองอย่างดี
ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผิวเริ่มจะแห้งมากขึ้น และเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป ผิวมักจะแห้งกร้านมาก และมี
แคลเซียม (Calcium) เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอาย
ความต้องการพลังงานและสารอาหารของคนเรา จะแตกต่างไปตามเพศ วัย และขนาดของร่างกาย เช่น วัยรุ่น มีการใช้พลัง
เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ดูเหมือนว่าร่างกายในส่วนต่างๆ หรือการทำงานของระบบร่างกาย ก็เร
ในช่วงสูงอายุ ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปมากอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ผู้สูงอายุเกิดสภาวะอารมณ์ที่แปรปรวน เพราะรับไม่ได้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งควรเรีย
เรามักพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่มีโรคประจำตัว มักเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งโรคมะเร็งเป