สังคมที่วุ่นวายและเสื่อมโทรมในปัจจุบัน ส่งผลให้สุขภาพจิตของคนในสังคมย่ำแย่ตามไปด้วย โดยเฉพาะในผู้สูงวัย ที่นอกจากจะจิตใจย่ำแย่จากสภาพสังคมแล้ว ยังย่ำแย่จากการกลายเป็นบุคคลที่ขาดความมั่นคงในชีวิตจากการที่ไม่สามารถทำงานได้ ไม่มีหน้ามีตาในสังคม ไม่สามารถดูแลตนเองได้ดี และมีสุขภาพที่แย่ลง
โรคซึมเศร้า สามารถพบได้บ่อยถึง 10-20% ของประชากรทั่วโลก ซึ่งสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แม้ว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็อาจนำไปสู่การทำร้ายตนเอง หรือนำอันตรายมาสู่ตนเองได้ ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้
ปัจจัยในการเกิดโรคซึมเศร้า
ไม่ว่าใครก็สามารถเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ เนื่องจากเกิดขึ้นได้ด้วยปัจจัยทางจิตสังคม เช่น ความเครียด หรือสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายรวมกัน นอกจากนี้อาจเกิดจากสภาพครอบครัวที่ไม่อบอุ่นได้อีกด้วย
เมื่อมีอาการอย่างไร จึงควรพบแพทย์
ไม่ควรรอให้มีอาการซึมเศร้าอย่างชัดเจนแล้วจึงพบจิตแพทย์ เพราะการรักษาตั้งแต่เบื้องต้นจะได้ผลดีโดยไม่ต้องใช้ยา จึงควรหมั่นสังเกตสภาพอารมณ์ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการเครียดเบื้องต้น สามารถพบแพทย์เพื่อจัดการกับความเครียดเบื้องต้นได้ แต่หากต้องรับการรักษาแบบจิตบำบัด ต้องพบจิตแพทย์
การดูแลโรค
การดูแลจากครอบครัว
ครอบครัวต้องเข้าใจและอาศัยความอดทนเป็นอย่างสูง และต้องดูแลเรื่องความปลอดภัย เช่น อุปกรณ์เสี่ยงต่อการทำให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตาย และเมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลับสู่สภาวะเดิมโดยเร็ว
การดูแลตนเอง
ผู้ป่วยต้องเข้าใจโรคที่ตนเองเป็นก่อน และควบคุมปัจจัยเสี่ยง รวมถึงทานยาอย่างสม่ำเสมอ ปรับแนวคิด แต่หากมีความกังวลในอาการ ควรไปพบแพทย์ก่อนนัดเสมอ
โรคซึมเศร้าสามารถป้องกันได้โดยการออกกำลังกาย หากิจกรรมนันทนาการ สวดมนต์ นั่งสมาธิ และที่สำคัญ คือการปรับทัศนคติของตนเองด้วยความเข้าใจโลกและความเป็นไป ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันโรคที่ดีที่สุด
อาการท้องผูก เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุทุกคน เกิดจากการที่ระบบร่างกายทำงานแปรปรวนไป แ
ในวัยสูงอายุ เป็นที่ทราบกันดีว่า สุขภาพร่างกาย จะเสื่อมถอยลง ส่งผลต่อระบบร่างกายต่
อาการเวียนศีรษะ หลายคนประสบมากับตัวเองมาแล้ว มีอาการ มึนหัว มึนงง ตัวลอยๆ ไม่มั่นคง
โรคไขมันในเลือดสูง คือ โรคที่มีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าค่าที่ถูกกำ
โรคข้อรูมาตอยด์ แม้จะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็พบได้ในผู้ที่มีญาติสายตรงเ
เมื่อโลกของเรากำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” สัดส่วนจำนวนประชากร “ผู้สูงวัย” เพิ่มมากขึ้นพ